Author name: admin

“สื่อ” สร้างเสริมพฤฒพลังให้แก่ผู้สูงอายุ

“สังคมผู้สูงอายุ” เป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างกำลังให้ความสนใจและต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันภาพรวมประชากรโลกเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และเมื่อมองลงไประดับทวีปจะพบว่า เกือบทุกทวีปก็กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว ยกเว้นทวีปแอฟริกา1 ในขณะที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และปัจจุบันได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรนี้ จะนำมาซึ่งปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ปัญหาวัยแรงงานน้อยลง ส่งผลให้ค่าแรงสูงขึ้น ค่าครองแรงสูงขึ้น2 ปัญหาความเครียดจากการแบกรับภาระผู้สูงอายุของวัยแรงงานในครอบครัว ตลอดจนปัญหาความซึมเศร้า รู้สึกน้อยใจ รู้สึกเป็นภาระลูกหลานของตัวผู้สูงอายุเอง จนนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ซึ่งส่งผลต่อเงินออมที่ตั้งใจเก็บไว้ใช้ตอนวัยสูงอายุจะไม่เพียงพอ3   “พฤฒพลัง” คืออะไร ? องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวคิด “Active Ageing”4 โดยเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อนำพาผู้สูงอายุไปสู่การมีสุขภาพที่ดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน และมีหลักประกันที่มั่นคง โดยใช้เป็นแนวทางเพื่อให้แต่ละประเทศได้นำไปปรับใช้ในการรับมือกับสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของ ผู้สูงอายุ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต่อไป โดยภาวะ “พฤฒพลัง” ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สุขภาพ ซึ่งหมายรวมถึง ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยการที่จะมีภาวะสุขภาพที่ดี จึงไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย นอนหลับอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้น

“สื่อ” สร้างเสริมพฤฒพลังให้แก่ผู้สูงอายุ Read More »

ภาษาอินเทอร์เน็ตกับช่องว่างระหว่างวัยในผู้สูงอายุ

การถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ตได้พลิกโฉมรูปแบบการสื่อสารในปัจจุบัน ให้เป็นการสื่อสารที่มีลักษณะเฉพาะและแยกแยะได้ตามกลุ่มอายุ ซึ่งเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนในแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับโลกดิจิทัลที่เต็มไปด้วยคำศัพท์และสำนวนใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย จนอาจนำไปสู่ความรู้สึกแปลกแยก ช่องว่างระหว่างวัยในภาษาของอินเทอร์เน็ตนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในการเลือกใช้ภาษา และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบทางสังคมและจิตวิทยาที่เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้สูงอายุหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เติบโตมาพร้อมกับการใช้อินเทอร์เน็ต ต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้เข้ากับคลังคำศัพท์ดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุจำนวนมากประสบกับอุปสรรคในการใช้งานอินเทอร์เน็ต อันเนื่องมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเชิงลบต่อเทคโนโลยี ปัจจัยเหล่านี้ขัดขวางความสามารถของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมกับรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ในยุคปัจจุบัน1,2  อุปสรรคดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีความต้องการและความชอบในรูปแบบการสื่อสารที่แตกต่างจากคนวัยอื่น ส่งผลให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อเผชิญกับสแลงหรือศัพท์เฉพาะกลุ่มในโลกออนไลน์ที่ไม่คุ้นเคย3 ผลกระทบของภาษาอินเทอร์เน็ตต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าการใช้อินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการถูกสังคมทอดทิ้ง3,4 อย่างไรก็ตาม ความไม่คุ้นเคยกับสแลงบนโลกออนไลน์อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกแปลกแยกและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยว ความท้าทายสำหรับนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายอยู่ที่การลดช่องว่างนี้ เนื่องจากผู้สูงอายุอาจได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในโลกดิจิทัล อย่างไรก็ตาม พวกเขามักขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะทางภาษาที่จำเป็นในการเข้าร่วมการสนทนาออนไลน์อย่างเต็มที่ วิวัฒนาการของคำสแลงในอินเทอร์เน็ตมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับแนวโน้มทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นใหม่และพลวัตของวัฒนธรรมในหมู่วัยรุ่น คำและวลีที่ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ เช่น “lit” “fam” หรือ “ghosting” อาจไม่เพียงแค่ไม่คุ้นเคยสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังยากต่อการทำความเข้าใจอีกด้วย5 ช่องว่างทางภาษานี้จึงอาจนำไปสู่ความรู้สึกแปลกแยก เนื่องจากผู้สูงอายุอาจรู้สึกว่าถูกกีดกันจากการสนทนาที่ใช้สำนวนร่วมสมัยเป็นหลัก นอกจากนี้ การเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของคำสแลงใหม่ ๆ ในปริมาณมาก ยังอาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกหนักใจและไม่เต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในการสนทนาและกิจกรรมออนไลน์6 นอกจากนี้ ช่องว่างระหว่างวัยในภาษาอินเทอร์เน็ตอาจก่อให้เกิดปัญหาการสื่อสารที่ผิดพลาดและความเข้าใจผิดได้ ผู้สูงอายุอาจตีความคำสแลงและศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ไปจากความหมายที่ตั้งใจไว้ ซึ่งอาจนำไปสู่ความสับสนและความคับข้องใจ7 ความคลาดเคลื่อนเช่นนี้อาจขัดขวางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในบริบทที่ต้องการความชัดเจน เช่น การสนทนาเกี่ยวกับสุขภาพหรือการปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว

ภาษาอินเทอร์เน็ตกับช่องว่างระหว่างวัยในผู้สูงอายุ Read More »

การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย

การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย Read More »

“คุณปู่คุณตาในอินเทอร์เน็ต”: พื้นที่แห่งการยอมรับผู้สูงอายุผ่านชุมชน ASMR ออนไลน์

เมื่อเทคโนโลยีการแพทย์พัฒนามากขึ้น คนจึงมีอายุยืนยาวมากขึ้น ดังนั้นสังคมจึงประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลายช่วงวัย อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่คนในสังคมทุกคนจะมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน เพราะมีความแตกต่างมากมายทั้งทางกายภาพ เพศสภาพ เพศสถานะ อาชีพ วัย การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ ชุดคุณค่าที่ยึดถือทางสังคมและวัฒนธรรม จึงไม่น่าแปลกใจที่บางครั้งจะเกิดการโต้แย้ง อันมาจากอคติความไม่เข้าใจบางประการ แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ ชุมชน ASMR ในต่างประเทศมีการโอบรับผู้สูงอายุทางออนไลน์และเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน เมื่อ ASMR ทำให้คนชื่นชมผู้สูงอายุอย่างคาดไม่ถึง ปัจจุบันมีชุมชนออนไลน์ที่ติดตาม ASMR โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ กลับมีผู้สูงอายุมาเป็นไอดอลในชุมชน ASMR ด้วยอย่างไม่ตั้งใจ และแสดงให้เห็นการรับรู้เชิงบวกต่อผู้สูงอายุ Autonomous Meridian Response (ASMR) คือ การทำเสียงต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เสียงบรรยากาศ เสียงธรรมชาติ เสียงพัดลม เสียงเคี้ยว เสียงเคาะวัตถุต่าง ๆ เสียงขูด เสียงกระซิบ เสียงพูดที่นุ่มหู คำพูดให้กำลังใจ ไปจนถึงเสียงห่อปาก กระดกลิ้น1 อาจมีการแสดงบทบาทสมมติ เช่น เพื่อนช่วยแต่งหน้า

“คุณปู่คุณตาในอินเทอร์เน็ต”: พื้นที่แห่งการยอมรับผู้สูงอายุผ่านชุมชน ASMR ออนไลน์ Read More »

สวัสดีวันจันทร์แบบใหม่ ส่งความคิดถึงและส่งต่อความปลอดภัยในการใช้สื่อ

“สวัสดีวันจันทร์” คืออะไร…. การส่งรูปดอกไม้ วิวธรรมชาติ สถานที่สวย ๆ พร้อมข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” ในตอนเช้า ๆ ของผู้สูงอายุถือเป็นสิ่งที่เราทุกคนคุ้นชิน และวัฒนธรรมที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้สื่อ โดยทุก ๆ เช้า เมื่อผู้สูงอายุตื่นมา สิ่งแรก ๆ ที่จะทำ คือ การนั่งไล่อ่านข้อความในไลน์จากลูกหลาน คนในครอบครัว และเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกันเอง เพื่อให้ทราบว่าแต่ละวันมีใครส่งข้อความ คำคม ข่าวสารอะไรให้บ้าง ก่อนที่จะกดเลือกรูปดอกไม้ หรือวิวธรรมชาติสวย ๆ พร้อมด้วยข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” แล้วส่งไปหาคนที่ห่วงใย  “สวัสดีวันจันทร์” หมายความว่าอะไร จากผลการวิเคราะห์เนื้อหาข้อความและความต้องการข่าวสารผ่านไลน์ของผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย1 พบว่า พฤติกรรมการส่งรูปภาพ “สวัสดีวันจันทร์” ของผู้สูงอายุ ล้วนแฝงด้วยความหมายหรือคุณค่าที่ลึกซึ้งของผู้สูงอายุที่มีต่อผู้ที่ส่งข้อความให้ เช่น ความรู้สึกคิดถึง การระลึกถึงกัน ที่มาจากการอยู่ห่างไกลกัน ความปรารถนาดีและความหวังดีที่ผู้สูงอายุมีต่อผู้ที่ส่งข้อความให้ ความต้องการที่ทันยุคสมัยและไม่ตกกระแสสังคม การทำบุญในรูปแบบการส่งต่อหลักคำสอนหรือหลักธรรม เพื่อหวังที่จะให้ผู้รับข้อความได้นำหลักคำสอนทางศาสนาไปปฏิบัติใช้การดำเนินชีวิต การเรียน การทำงาน นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่าการที่ผู้สูงอายุส่งข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” ในทุก ๆ

สวัสดีวันจันทร์แบบใหม่ ส่งความคิดถึงและส่งต่อความปลอดภัยในการใช้สื่อ Read More »

Scroll to Top