Author name: admin

ผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ ปี 2563

โครงการ“ผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ” (Media Literate Elderly: Creating Media Literacy Course and Expanding Networks of Communicators for Well-being) การทำงานวิจัยในปี พ.ศ. 2563 เป็นการทำงานต่อยอด ขยายผล และยกระดับงานสร้างเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุไทย เพื่อสร้าง “หลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ” และคู่มือการจัดการเรียนรู้ประกอบหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุไทยในเมืองและชนบท พัฒนาศักยภาพการสื่อสาร นสส. วัยเพชร ที่เป็นกลุ่มแกนนำจากโครงการ “สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: สร้างนักสื่อสารสุขภาวะที่รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ” ในปี พ.ศ. 2561 เพื่อเป็น นสส. วัยเพชร ครู ก จากโรงเรียนผู้สูงอายุ 5 โรงเรียน ได้แก่ สถาบันภูมิปัญญาพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร โรงเรียนผู้สูงอายุเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดสุพรรณบุรี รีสอร์ทผู้สูงอายุเทศบาลตำบลชะมาย จังหวัดนครศรีธรรมราช และ โรงเรียนผู้สูงอายุเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ที่ผ่านการอบรมและฝึกสอนเป็น […]

ผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ ปี 2563 Read More »

ลงพื้นที่ ณ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบ้านป้อม

วันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2565 คณะทำงานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ (ประธานศูนย์ฯ) พร้อมทั้งเครือข่ายความร่วมมือโดยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้นำหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อไปอบรมและเผยแพร่การรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุเข้าร่วม 25 คน ณ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบ้านป้อม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลงพื้นที่ ณ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบ้านป้อม Read More »

การรับมือกับข่าวสารโควิด-19 ในโลกออนไลน์ของผู้สูงอายุ…ตนเอง ครอบครัว เพื่อน

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เริ่มรุนแรงในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2563 เห็นได้ชัดว่า โรคร้ายนี้กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางอย่างกลุ่มผู้สูงอายุ มาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ได้กลายเป็นเรื่องปกติในหลายประเทศทั่วโลก ได้ทำให้การปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวลดลงอย่างเลี่ยงมิได้ สิ่งนี้อาจก่อปัญหาทางด้านจิตใจในกลุ่มผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องอยู่เพียงลำพัง แม้เทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารกันในสังคมสามารถสานต่อปฏิสัมพันธ์ที่ขาดหายไปได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการเว้นระยะห่างทางกายภาพเช่นนี้ แต่ผู้สูงอายุมักไม่อาจเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ดีเท่าที่ควร หรือในบางกรณี อาจขาดทักษะหรือประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเข้าสู่โลกออนไลน์ ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย เช่น ตกเป็นเป้าหมายของข้อมูลเท็จ หรือการหลอกลวงโดยกลุ่มมิจฉาชีพ ทั้งสองกรณีนี้มีให้เห็นอยู่นับไม่ถ้วนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยกตัวอย่างในประเทศอินเดีย ซึ่งมีการระบาดของเชื้อไวรัสสูงที่สุดในโลกในช่วงปี 2563 นักวิชาการด้านจิตวิทยาผู้สูงอายุ เดบันจัน บาเนร์จี ได้นำเสนอตัวเลขเกี่ยวกับผู้สูงอายุในช่วงวิกฤตที่น่าสนใจ กล่าวคือ ผู้สูงอายุในอินเดียถึงร้อยละ 85 ไม่มีความรู้ด้านดิจิทัลเพียงพอ จึงมีความเสี่ยงที่จะรับหรือส่งต่อข้อมูลเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการมองเห็น ซึ่งหมายความว่า เมื่อต้องถูกกักตัวหรือแยกตัวห่างไกลจากการดูแลของคนในครอบครัว ก็อาจไม่เข้าใจข้อมูลที่ได้รับ หรือได้รับอย่างไม่ครบถ้วน ประกอบกับประสาทสัมผัสที่เสื่อมลงตามเวลา ทำให้ความสามารถในการเปิดรับข้อมูลอย่างถี่ถ้วนลดลงตามไปด้วย ข้อมูลลวงที่ระบาดหนัก หรือข้อมูลจริงแต่มีเป็นจำนวนมาก อาจก่อความเข้าใจผิดจนเกิดความเสียหายได้ ผู้สูงอายุอาจรับข้อมูลได้เพียงบางส่วนเพราะสภาพร่างกายไม่อำนวย เมื่อรู้เพียงครึ่งก็ปฏิบัติเพียงครึ่ง หรือที่แย่ที่สุด ก็คือการปฏิบัติตามข้อมูลผิด ๆ ที่มาจากการระบาดข้อมูลเหล่านั้น1 ปรากฏการณ์การระบาดข้อมูลนี้ ตรงกับสิ่งที่องค์การอนามัยโลก (World Health

การรับมือกับข่าวสารโควิด-19 ในโลกออนไลน์ของผู้สูงอายุ…ตนเอง ครอบครัว เพื่อน Read More »

ผลการวิจัยชี้เทคโนโลยีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงวัยกับคนต่างวัย

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การพบปะระหว่างคนในครอบครัวในระยะใกล้เป็นไปได้ยาก ครั้นจำเป็นต้องกักบริเวณเมื่อผู้ที่ตรวจพบเชื้อ ก็ยิ่งทำให้การพบกันทางกายภาพเป็นไปไม่ได้ หนทางเดียวที่จะนำพาผู้คนให้รักษาสัมพันธ์ระหว่างกันได้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ คือเทคโนโลยีการสื่อสารที่จะช่วยให้การพูดคุยและการพบหน้าไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่บางครั้ง เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือแม้แต่การไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ก็ยังคงเป็นปัญหาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะมักไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าถึงเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับคนกลุ่มอายุอื่น บางรายอาจไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ หรือแม้แต่เครื่องมือสื่อสาร กระนั้นก็ดีแม้ว่าผู้สูงอายุจะหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเชื่อมต่อ หรือสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัวผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ งานวิจัยในออสเตรเลีย ได้ศึกษาวิธีการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวในช่วงการเว้นระยะห่างทางสังคมผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93) มักติดต่อสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่อื่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วงการระบาดเป็นวงกว้าง แต่ร้อยละ 37 ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่าการเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นไปได้ยาก ผู้สูงอายุมีปัญหาในการติดต่อกันมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีเพียงร้อยละ 23 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี บอกว่าพวกตนติดต่อกับคนอื่น ๆ ในครอบครัวทุกวัน แต่เป็นจำนวนที่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปี นอกจากนั้น เมื่อถามว่า ได้ติดต่อกับบุคคลที่รักน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์หรือไม่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ตอบว่าใช่ คิดเป็นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี กลับมีเพียงร้อยละ 41 ทั้งนี้

ผลการวิจัยชี้เทคโนโลยีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงวัยกับคนต่างวัย Read More »

อบรมนักสื่อสารสุขภาวะวัยเพชร ครู ก จังหวัดสุพรรณบุรี

การอบรมเสริมพลังในการประยุกต์ใช้หลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ และการใช้เกมออนไลน์ หยุด คิด ถาม ทำ ให้กับนักสื่อสารสุขภาวะวัยเพชร (นสส.วัยเพชร) ครู ก วันที่ 17 มกราคม 2565 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดสุพรรณบุรี

อบรมนักสื่อสารสุขภาวะวัยเพชร ครู ก จังหวัดสุพรรณบุรี Read More »

2564: มารยาทการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนไทย

คุณากร คงจันทร์ นันทิยา ดวงภุมเมศ สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะ ด้านการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนไทยกำลังดำเนินไปตามวิถีเทคโนโลยีพลิกผัน อิสรภาพในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างไร้ขอบเขตทำให้เกิดการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาพฤติกรรมและมารยาทการสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ของคนไทยว่า  มีลักษณะอย่างไร  มารยาทการสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์สอดคล้องหรือแตกต่างกับในชีวิตจริงอย่างไร  และควรมีแนวทางใดในการประยุกต์มารยาทในชีวิตจริงเพื่อใช้ในสังคมออนไลน์การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ใช้เฟซบุ๊ก และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 40 คน และวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการของการศึกษาปรากฏการณ์วิทยาในแนวอรรถปริวัตร (Hermeneutic Phenomenology) ผลการวิจัยพบว่า 1) คนไทยมีพฤติกรรมการสื่อสาร 2 แนวทาง คือ ด้านการงาน และ ด้านอารมณ์-สังคม 2) มารยาทการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่พบนั้น ไม่นิ่งตายตัว แต่มีความเชื่อมโยงกับมิติทางวัฒนธรรมของ Geert Hofstede 3) มารยาทการสื่อสารในชีวิตจริงจะสอดคล้องกับในสื่อสังคมออนไลน์ก็ต่อเมื่อมีการเปิดเผยตัวตนในสื่อสังคมออนไลน์  และ 4)  กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่า  การปลูกฝังมารยาทการสื่อสารในชีวิตจริงจะทำให้สื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีมารยาท คุณากร คงจันทร์,

2564: มารยาทการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของคนไทย Read More »

2563: สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ

สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ นันทิยา ดวงภุมเมศ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศแก่ผู้สูงอายุ 2) เสริมพลังให้ผู้สูงอายุตระหนักในคุณค่าของตนผ่านการเป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่สามารถสร้างสรรค์สื่อได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของชุมชนและสถานการณ์ของสังคม และร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนหรือสังคม 3) ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างพลเมืองสูงวัยเป็นนักสื่อสารสุขภาวะในสังคมไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มนักเรียนสูงอายุใน 5 พื้นที่ทั่วประเทศ คือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 268 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เท่าทันสื่อเพิ่มขึ้น การใช้คาถารู้ทันสื่อ “หยุด-คิด-ถาม-ทำ” ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดจากการเสพสื่ออย่างไม่รู้เท่าทันในกลุ่มผู้สูงอายุ การรับบทบาทนักสื่อสารสุขภาวะทำให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่า และศักยภาพของตนเองในการสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะของตนเองและชุมชน องค์ความรู้ที่ได้คือแนวทางการสร้างผู้สูงอายุให้เป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่รู้เท่าทันสื่อ เริ่มจากการทำความเข้าใจความสามารถและข้อจำกัดในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ออกแบบเนื้อหาและวิธีการให้สอดคล้อง และจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม สิรินทร พิบูลภานุวัธน์, นันทิยา ดวงภุมเมศ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2563). สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 15(3), 174-191. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/243561

2563: สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง: การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ Read More »

2563: การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: “หลักการ” และ “เครื่องมือ” เพื่อเสริมสร้างเด็กและเยาวชนพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ

นันทิยา ดวงภุมเมศ นิธิดา แสงสิงแก้ว บทความนี้มุ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการใช้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) ในการเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนไทยเป็นพลเมืองรู้เท่าทันสื่อที่มีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วม และมุ่งเน้น ความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจากการดำเนินงานและผลกระทบที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของ เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ ดิจิทัล ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ตั้งแต่พ.ศ. 2557-2561 โดยบทความนำเสนอการใช้ MIDL ใน เชิง“หลักการ” ที่มีเป้าหมายหรือผลลัพธ์ของกระบวนการ คือ เด็กและเยาวชนสามารถบริโภคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน การใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น เพื่อผลักดัน สังคมไปสู่การเป็น “เมืองทั่วถึง” (inclusive city) และการใช้ทั้ง “หลักการและเครื่องมือ” ในการพัฒนาทักษะ MIDL ที่ผนวกรวมกับมิติด้านความเป็ นพลเมืองตื่นรู้โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิ ดขึ้นกับเด็กและเยาวชนตอกย้ำถึงคุณค่าของ MIDL ในการสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ใช้สื่ออย่างมีสำนึกและสติ (conscious awareness) อัน นำไปสู่การเกิดสำนึกรับผิดชอบ พลังในการสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตยที่ให้ ความสำคัญกับการรับฟัง “เสียง”

2563: การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: “หลักการ” และ “เครื่องมือ” เพื่อเสริมสร้างเด็กและเยาวชนพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ Read More »

2563: แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

นิธิดา แสงสิงแก้ว นันทิยา ดวงภุมเมศ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลโครงการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ ดิจิทัล (MIDL)3 ซึ่งได้ติดตามผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2561 ด้วยการใช้ ข้อมูลปฐมภูมิ ผ่านการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกของคณะประเมิน ผล และข้อมูลทุติยภูมิ ด้วยการศึกษารายงานผลจากโครงการย่อยและรายงาน ผลการประเมินการดำเนินงานของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนในภาพรวม เฉพาะ ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับ MIDL โดยบทความให้ความสำคัญกับมิติ “พื้นที่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความเรื่อง “เมือง” ผ่านการสื่อสารภายใต้แนวคิดเมือง ทั่วถึง หรือเมืองที่ไม่ทอดทิ้งกัน (inclusive city) ในฐานะที่เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกหนึ่งในการมอง “เมือง” ให้เป็นโอกาสในการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ กลุ่มสังคมย่อยมีโอกาสเข้าถึง ออกแบบ มีส่วนร่วม และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ความเป็นเมืองนั้น นิธิดา แสงสิงแก้ว, และนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2563). แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล : เมื่อ

2563: แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง Read More »

2561: การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง

ยงยุทธ บุราสิทธิ์ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.สำรวจคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุในสังคมเมืองที่มีพลวัตสูง 2.สำรวจสถานการณ์ของครอบครัวในสังคมเมืองที่มีผลกระทบต่อค่านิยมด้านคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ และ 3.เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีให้แก่ผู้สูงอายุในสังคมเมือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัว โดยศึกษาผู้สูงอายุจำนวน 336 คนและลูก/หลานจำนวน 335 คนในเขตเทศบาลนครนครปฐมใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและสัดส่วนและการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประเมินว่าตนเองมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในระดับสูง รู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจได้รับการเคารพยกย่องจากลูกหลานและการเป็นที่พึ่งทางใจของครอบครัว  ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีทัศนคติต่อค่านิยมในเชิงบวกด้านการเคารพผู้สูงอายุสูงกว่าเพศชายแนวทางในการส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีให้แก่ผู้สูงอายุคือการสร้างฐานสุขภาพที่แข็งแรงให้กับผู้สูงอายุ การควบคุมโรคเรื้อรัง การสร้างสุขภาพจิตที่ดี การปลูกฝังความรัก ความผูกพัน และการตอบแทนบุญคุณ ยงยุทธ บุราสิทธิ์ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2561). การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 37(2), 129-150. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/209525/145097

2561: การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง Read More »

Scroll to Top