Author name: admin

สถานการณ์การใช้สื่อของผู้สูงวัยชาวจีนในฐานะ “คนเก่า ใน โลกใบใหม่”

อย่างที่พวกเราทราบกันดี ตอนนี้โลกของเราได้เข้าสู่ยุคออนไลน์เต็มตัว จากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดดนั้น ทำให้ผู้สูงอายุ หรืออาจจะเรียกได้ว่า “คนเก่า” จำนวนไม่น้อยเลยที่กำลังตาม “โลกใบใหม่” ไม่ทัน โลกที่ว่านั้นคือ โลกที่เต็มไปด้วยความล้ำสมัยของเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ว่าจะจากอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ หรือแม้แต่อุปกรณ์ทันสมัยอย่าง สมาร์ทโฟน หากทว่าภัยร้ายทางเทคโนโลยีก็เข้ามาพร้อมกันด้วย ซึ่งกลโกงเหล่านั้นได้เจาะจงพุ่งเป้ามาที่กลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ทั้งนี้ การมีผู้สูงวัยในประเทศเป็นจำนวนมากนั้นไม่เพียงแค่เป็นการที่มีประชากรกลุ่มนี้ล้นประเทศเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดวิกฤตหรือสถานการณ์บางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม เช่น สังคม เศรษฐกิจ หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวันของประชากรทุกคน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนตั้งรับกับสถานการณ์ใด ๆ ก็ตามที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อทำให้ผลกระทบที่จะตามมานั้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมไปถึงการเตรียมพร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ซึ่ง “ประเทศจีน” ก็เช่นกัน จำนวนผู้สูงอายุในประเทศจีนมีเพิ่มมากขึ้นจนเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของสังคมผู้สูงวัยเป็นที่เรียบร้อย  โดยอ้างอิงจากการเก็บข้อมูลของ The National Bureau of Statistics ในปี 2021 ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีในประเทศจีนมีจำนวนมากกว่า 267 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 18.9% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และจากข้อมูลในปี 2022 ประชากรจีนที่อายุมากกว่า 60 […]

สถานการณ์การใช้สื่อของผู้สูงวัยชาวจีนในฐานะ “คนเก่า ใน โลกใบใหม่” Read More »

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต”

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ในหัวข้อ “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” มีผู้ร่วมเสวนาจากวิทยากร จำนวน 3 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ต.หญิง ดร. พนมพร พุ่มจันทร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณรวิภา เอกสิริเลิศ ประธานชมรมจิตอาสา สมาคมผู้สูงอายุอำเภอสามพราน คุณนณพร ทศแก้ว พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์แพทย์ผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ดำเนินการสนทนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ศิวปฐมชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันฯ

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” Read More »

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 1 “ผู้สูงวัย…การเท่าทันสื่อและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม”

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 1 “ผู้สูงวัย…การเท่าทันสื่อและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม” ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ในหัวข้อ “ผู้สูงวัย…การเท่าทันสื่อและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม” มีผู้ร่วมเสวนาจากวิทยากร จำนวน 3 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย ตัวแทนนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คุณจงดี เศรษฐอำนวย ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลไม้ และอาหารตำบลศาลายา ตัวแทนผู้สูงอายุ

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 1 “ผู้สูงวัย…การเท่าทันสื่อและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม” Read More »

การจัดอบรมวิทยากรผู้สอนหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ

การจัดอบรมวิทยากรผู้สอนหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ร่วมกับบริษัททำมาปัน (กลุ่มคนตัวดี) และกรมกิจการผู้สูงอายุ ในวันที่ 29-30 สิงหาคม 2566

การจัดอบรมวิทยากรผู้สอนหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ Read More »

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลด่านช้าง

กิจกรรมลงพื้นที่ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุเพื่อทดลองใช้ (ร่าง) หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ครั้ง 3 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี วันที่ 11 สิงหาคม 2566 มีผู้สูงอายุเข้าร่วม 37 คน

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลด่านช้าง Read More »

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลไทรโยค

กิจกรรมลงพื้นที่ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุเพื่อทดลองใช้ (ร่าง) หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ครั้ง 2 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลไทรโยค อ.ไทรโยค จ กาญจนบุรี วันที่ 7 กรกฎาคม มีผู้สูงอายุเข้าร่วม 29 คน

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลไทรโยค Read More »

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุพลูตาหลวง

กิจกรรมลงพื้นที่ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุเพื่อทดลองใช้ (ร่าง) หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุพลูตาหลวง อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี วันที่ 28 มิถุนายน 2566 มีผู้สูงอายุเข้าร่วม 26 คน

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุพลูตาหลวง Read More »

การสื่อสารและการดูแลผู้สูงวัยต่างชาติในประเทศไทย

การท่องเที่ยวระยะยาวระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่าการย้ายถิ่นฐานเพื่อการเกษียณอายุระหว่างประเทศ เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศแถบตะวันตกมาหลายทศวรรษ และค่อย ๆ แพร่กระจายไปทั่วโลก รัฐบาลไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2544 โดยเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ คำว่า “การพำนักระยะยาว” หมายถึง การอยู่ในประเทศเกิน 30 วัน และไม่ใช่เพื่อท่องเที่ยวหรือทำงาน โดยท้ายที่สุดผู้ที่เข้ามาพำนักก็จะต้องกลับไปยังประเทศบ้านเกิด1 ประเทศไทยเป็นสถานที่ดึงดูดผู้เกษียณอายุชาวต่างชาติซึ่งต้องการใช้เวลาช่วงพักผ่อนระยะยาวมานานแล้ว โดยรัฐบาลได้ออกวีซ่าเกษียณอายุเกือบ 8 หมื่นใบ ใน พ.ศ. 2561 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จาก พ.ศ. 2557 ผลวิจัยของธนาคารกสิกรไทยประเมินว่าใน พ.ศ. 2559 มีชาวต่างชาติอายุมากกว่า 50 ปีที่ถือวีซ่าพำนักระยะยาวจำนวน 68,300 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา2 เหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยเป็นที่นิยม ก็เพราะที่อยู่อาศัยมีราคาย่อมเยาว์ อัตราค่าครองชีพต่ำ และเป็นเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพที่มีมาตรฐานระดับโลก เราอาจจะสังเกตเห็นปรากฏการณ์หนึ่งซึ่งเชื่อมโยงระหว่างการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยกับการดูแลผู้เกษียณอายุชาวต่างชาติ เนื่องจากคนกลุ่มนี้เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องประสบกับปัญหาสุขภาพในวัยชรา จนจำเป็นต้องขอใช้บริการการดูแลทางการแพทย์ในประเทศไทย เหตุนี้เองรัฐจึงได้จัดโครงการดูแลสุขภาพระยะยาวขึ้นในปี พ.ศ.

การสื่อสารและการดูแลผู้สูงวัยต่างชาติในประเทศไทย Read More »

ผู้สูงวัยกับวิทยุ: วันเก่าที่ยังจดจำ

ผู้สูงอายุมีประสบการณ์ชีวิตและความทรงจำมากมาย วิธีการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ดึงวันเก่าที่ยังจำได้ให้ระลึกถึงขึ้นมา คือวิทยุ สำหรับวิทยุแล้ว ช่องทางการสื่อสารนี้ทำหน้าที่เป็นสื่ออันทรงพลัง ไม่เพียงให้ความบันเทิง แต่ยังกระตุ้นความคิดถึงวันเก่า ๆ อีกด้วย ในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว คนรุ่นใหม่มักมองข้ามผลกระทบของวิทยุที่มีต่อชีวิตของผู้สูงอายุ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุ วิทยุ และความคิดคำนึงถึงอดีต มีนัยต่อการทำความเข้าใจถึงอิทธิพลของวิทยุที่มีต่อคนรุ่นก่อน หากเราหวนมองความสำคัญของวิทยุ บางทีเราจะสามารถส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างรุ่น อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุในสังคมไทยผ่านการสื่อสารทางวิทยุย้อนสมัยได้เช่นกัน อันที่จริงแล้ว วิทยุมีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้สูงอายุไทยมาหลายทศวรรษ ทำหน้าที่เป็นหน้าต่างสู่โลกภายนอก แหล่งความบันเทิง ก่อนการกำเนิดของโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต วิทยุเป็นแหล่งรับข่าวสารหลัก ฟังดนตรี และเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้สึกเชื่อมโยง เชื่อมช่องว่างระหว่างพื้นที่ห่างไกลกับใจกลางเมืองของประเทศไทยในอดีต1 รายการวิทยุ เช่น รายการข่าว ละครวิทยุ หรือแม้แต่การพูดคุยอย่างทอล์คโชว์ เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุในพื้นที่ห่างไกลเมืองรอคอยอย่างใจจดใจจ่อในฐานะเพื่อนยามเหงา ความคิดถึงกับความโหยหาอดีตที่มักเกิดขึ้นจากรายการวิทยุ มีความสำคัญทางอารมณ์กับผู้สูงอายุไทยอย่างลึกซึ้ง วิทยุอาจนำเสนอเพลงและเสียงที่คุ้นเคยจากวัยเยาว์ทำให้ความทรงจำหวนคืนมา สร้างความรู้สึกสบายใจ สำหรับผู้สูงอายุหลาย ๆ คน วิทยุทำหน้าที่เป็น “ไทม์แมชชีน” เพื่อพาตนเองย้อนกลับไปสู่ยุคอดีต ความคิดถึงที่มีผลกระทบอย่างมากต่อความผาสุกทางจิตใจ เพราะช่วยแก้เหงา การซึมเศร้า และความโดดเดี่ยวทางสังคมที่มักมาพร้อมกับวัยชรา2 การได้มีโอกาสดำดิ่งสู่ประสบการณ์แห่งความคิดถึงผ่านทางวิทยุนี้เอง อาจทำให้ผู้สูงอายุค้นพบตัวตนอีกครั้ง เช่น ย้อนคิดถึงกิจกรรมสมัยเป็นหนุ่มเป็นสาวผ่านรายการเพลงยุคเก่า นี่เองคือการเชื่อมโยงความหมายของการใช้ชีวิตในปัจจุบันกับอดีตของผู้สูงวัยแต่ละคน

ผู้สูงวัยกับวิทยุ: วันเก่าที่ยังจดจำ Read More »

Scroll to Top