Literacy-th

“สื่อ” สร้างเสริมพฤฒพลังให้แก่ผู้สูงอายุ

“สังคมผู้สูงอายุ” เป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างกำลังให้ความสนใจและต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันภาพรวมประชากรโลกเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และเมื่อมองลงไประดับทวีปจะพบว่า เกือบทุกทวีปก็กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว ยกเว้นทวีปแอฟริกา1 ในขณะที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และปัจจุบันได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรนี้ จะนำมาซึ่งปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ปัญหาวัยแรงงานน้อยลง ส่งผลให้ค่าแรงสูงขึ้น ค่าครองแรงสูงขึ้น2 ปัญหาความเครียดจากการแบกรับภาระผู้สูงอายุของวัยแรงงานในครอบครัว ตลอดจนปัญหาความซึมเศร้า รู้สึกน้อยใจ รู้สึกเป็นภาระลูกหลานของตัวผู้สูงอายุเอง จนนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ซึ่งส่งผลต่อเงินออมที่ตั้งใจเก็บไว้ใช้ตอนวัยสูงอายุจะไม่เพียงพอ3   “พฤฒพลัง” คืออะไร ? องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวคิด “Active Ageing”4 โดยเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อนำพาผู้สูงอายุไปสู่การมีสุขภาพที่ดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน และมีหลักประกันที่มั่นคง โดยใช้เป็นแนวทางเพื่อให้แต่ละประเทศได้นำไปปรับใช้ในการรับมือกับสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของ ผู้สูงอายุ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต่อไป โดยภาวะ “พฤฒพลัง” ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สุขภาพ ซึ่งหมายรวมถึง ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยการที่จะมีภาวะสุขภาพที่ดี จึงไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย นอนหลับอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้น […]

“สื่อ” สร้างเสริมพฤฒพลังให้แก่ผู้สูงอายุ Read More »

ภาษาอินเทอร์เน็ตกับช่องว่างระหว่างวัยในผู้สูงอายุ

การถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ตได้พลิกโฉมรูปแบบการสื่อสารในปัจจุบัน ให้เป็นการสื่อสารที่มีลักษณะเฉพาะและแยกแยะได้ตามกลุ่มอายุ ซึ่งเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนในแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับโลกดิจิทัลที่เต็มไปด้วยคำศัพท์และสำนวนใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย จนอาจนำไปสู่ความรู้สึกแปลกแยก ช่องว่างระหว่างวัยในภาษาของอินเทอร์เน็ตนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในการเลือกใช้ภาษา และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบทางสังคมและจิตวิทยาที่เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้สูงอายุหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เติบโตมาพร้อมกับการใช้อินเทอร์เน็ต ต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้เข้ากับคลังคำศัพท์ดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุจำนวนมากประสบกับอุปสรรคในการใช้งานอินเทอร์เน็ต อันเนื่องมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเชิงลบต่อเทคโนโลยี ปัจจัยเหล่านี้ขัดขวางความสามารถของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมกับรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ในยุคปัจจุบัน1,2  อุปสรรคดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีความต้องการและความชอบในรูปแบบการสื่อสารที่แตกต่างจากคนวัยอื่น ส่งผลให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อเผชิญกับสแลงหรือศัพท์เฉพาะกลุ่มในโลกออนไลน์ที่ไม่คุ้นเคย3 ผลกระทบของภาษาอินเทอร์เน็ตต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าการใช้อินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการถูกสังคมทอดทิ้ง3,4 อย่างไรก็ตาม ความไม่คุ้นเคยกับสแลงบนโลกออนไลน์อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกแปลกแยกและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยว ความท้าทายสำหรับนักวิจัยและผู้กำหนดนโยบายอยู่ที่การลดช่องว่างนี้ เนื่องจากผู้สูงอายุอาจได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในโลกดิจิทัล อย่างไรก็ตาม พวกเขามักขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะทางภาษาที่จำเป็นในการเข้าร่วมการสนทนาออนไลน์อย่างเต็มที่ วิวัฒนาการของคำสแลงในอินเทอร์เน็ตมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับแนวโน้มทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นใหม่และพลวัตของวัฒนธรรมในหมู่วัยรุ่น คำและวลีที่ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ เช่น “lit” “fam” หรือ “ghosting” อาจไม่เพียงแค่ไม่คุ้นเคยสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังยากต่อการทำความเข้าใจอีกด้วย5 ช่องว่างทางภาษานี้จึงอาจนำไปสู่ความรู้สึกแปลกแยก เนื่องจากผู้สูงอายุอาจรู้สึกว่าถูกกีดกันจากการสนทนาที่ใช้สำนวนร่วมสมัยเป็นหลัก นอกจากนี้ การเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของคำสแลงใหม่ ๆ ในปริมาณมาก ยังอาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกหนักใจและไม่เต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในการสนทนาและกิจกรรมออนไลน์6 นอกจากนี้ ช่องว่างระหว่างวัยในภาษาอินเทอร์เน็ตอาจก่อให้เกิดปัญหาการสื่อสารที่ผิดพลาดและความเข้าใจผิดได้ ผู้สูงอายุอาจตีความคำสแลงและศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ไปจากความหมายที่ตั้งใจไว้ ซึ่งอาจนำไปสู่ความสับสนและความคับข้องใจ7 ความคลาดเคลื่อนเช่นนี้อาจขัดขวางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในบริบทที่ต้องการความชัดเจน เช่น การสนทนาเกี่ยวกับสุขภาพหรือการปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว

ภาษาอินเทอร์เน็ตกับช่องว่างระหว่างวัยในผู้สูงอายุ Read More »

“คุณปู่คุณตาในอินเทอร์เน็ต”: พื้นที่แห่งการยอมรับผู้สูงอายุผ่านชุมชน ASMR ออนไลน์

เมื่อเทคโนโลยีการแพทย์พัฒนามากขึ้น คนจึงมีอายุยืนยาวมากขึ้น ดังนั้นสังคมจึงประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลายช่วงวัย อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่คนในสังคมทุกคนจะมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน เพราะมีความแตกต่างมากมายทั้งทางกายภาพ เพศสภาพ เพศสถานะ อาชีพ วัย การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ ชุดคุณค่าที่ยึดถือทางสังคมและวัฒนธรรม จึงไม่น่าแปลกใจที่บางครั้งจะเกิดการโต้แย้ง อันมาจากอคติความไม่เข้าใจบางประการ แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ ชุมชน ASMR ในต่างประเทศมีการโอบรับผู้สูงอายุทางออนไลน์และเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน เมื่อ ASMR ทำให้คนชื่นชมผู้สูงอายุอย่างคาดไม่ถึง ปัจจุบันมีชุมชนออนไลน์ที่ติดตาม ASMR โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงาน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ กลับมีผู้สูงอายุมาเป็นไอดอลในชุมชน ASMR ด้วยอย่างไม่ตั้งใจ และแสดงให้เห็นการรับรู้เชิงบวกต่อผู้สูงอายุ Autonomous Meridian Response (ASMR) คือ การทำเสียงต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เสียงบรรยากาศ เสียงธรรมชาติ เสียงพัดลม เสียงเคี้ยว เสียงเคาะวัตถุต่าง ๆ เสียงขูด เสียงกระซิบ เสียงพูดที่นุ่มหู คำพูดให้กำลังใจ ไปจนถึงเสียงห่อปาก กระดกลิ้น1 อาจมีการแสดงบทบาทสมมติ เช่น เพื่อนช่วยแต่งหน้า

“คุณปู่คุณตาในอินเทอร์เน็ต”: พื้นที่แห่งการยอมรับผู้สูงอายุผ่านชุมชน ASMR ออนไลน์ Read More »

สวัสดีวันจันทร์แบบใหม่ ส่งความคิดถึงและส่งต่อความปลอดภัยในการใช้สื่อ

“สวัสดีวันจันทร์” คืออะไร…. การส่งรูปดอกไม้ วิวธรรมชาติ สถานที่สวย ๆ พร้อมข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” ในตอนเช้า ๆ ของผู้สูงอายุถือเป็นสิ่งที่เราทุกคนคุ้นชิน และวัฒนธรรมที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้สื่อ โดยทุก ๆ เช้า เมื่อผู้สูงอายุตื่นมา สิ่งแรก ๆ ที่จะทำ คือ การนั่งไล่อ่านข้อความในไลน์จากลูกหลาน คนในครอบครัว และเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกันเอง เพื่อให้ทราบว่าแต่ละวันมีใครส่งข้อความ คำคม ข่าวสารอะไรให้บ้าง ก่อนที่จะกดเลือกรูปดอกไม้ หรือวิวธรรมชาติสวย ๆ พร้อมด้วยข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” แล้วส่งไปหาคนที่ห่วงใย  “สวัสดีวันจันทร์” หมายความว่าอะไร จากผลการวิเคราะห์เนื้อหาข้อความและความต้องการข่าวสารผ่านไลน์ของผู้สูงอายุของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย1 พบว่า พฤติกรรมการส่งรูปภาพ “สวัสดีวันจันทร์” ของผู้สูงอายุ ล้วนแฝงด้วยความหมายหรือคุณค่าที่ลึกซึ้งของผู้สูงอายุที่มีต่อผู้ที่ส่งข้อความให้ เช่น ความรู้สึกคิดถึง การระลึกถึงกัน ที่มาจากการอยู่ห่างไกลกัน ความปรารถนาดีและความหวังดีที่ผู้สูงอายุมีต่อผู้ที่ส่งข้อความให้ ความต้องการที่ทันยุคสมัยและไม่ตกกระแสสังคม การทำบุญในรูปแบบการส่งต่อหลักคำสอนหรือหลักธรรม เพื่อหวังที่จะให้ผู้รับข้อความได้นำหลักคำสอนทางศาสนาไปปฏิบัติใช้การดำเนินชีวิต การเรียน การทำงาน นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่าการที่ผู้สูงอายุส่งข้อความ “สวัสดีวันจันทร์” ในทุก ๆ

สวัสดีวันจันทร์แบบใหม่ ส่งความคิดถึงและส่งต่อความปลอดภัยในการใช้สื่อ Read More »

โต๊ะมหัศจรรย์ (Tovertafel) เกมสื่อปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบ (Interactive game)

จากเนเธอร์แลนด์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในปัจจุบันหลายประเทศบนโลกเป็นสังคมผู้สูงอายุ รวมไปถึงทวีปยุโรปที่เป็นกลุ่มต้น ๆ ในบรรดาประเทศ G20 ที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด เมื่อต้นปี ค.ศ.2023 มีผลสำรวจจากองค์กร Eurostatพบว่าประชากรผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) มีจำนวนมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรยุโรปทั้งหมด คิดเป็น 21.3% ของประชากร 448,800,000 คน  และภายใน ค.ศ.2050 ในยุโรปจะมีผู้สูงอายุที่อายุ 100 ปีขึ้นไปราว500,000 คน และกลุ่มประชากรอายุ 65-74 ปี มีแนวโน้มจำนวนสูงขึ้น 16.6% ในขณะที่กลุ่มประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 55 ปี จะมีจำนวนเพียง 13.5% โดยประมาณ1  หนึ่งในภาวะที่พบมากที่สุดในผู้สูงอายุคือ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นภาวะที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เพราะสมองทำงานได้แย่ลง เช่น อาการหลงลืมง่าย หลงทางในที่คุ้นเคย ทำอะไรซ้ำไปมา บุคลิกเปลี่ยน เริ่มเสียทักษะที่เคยทำได้ ภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุทั้งจากโรคที่รักษาหายขาด เช่น โรคต่อมไทรอยด์

โต๊ะมหัศจรรย์ (Tovertafel) เกมสื่อปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบ (Interactive game) Read More »

Adopta un abuelo: สตาร์ตอัปจากสเปนที่ช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างวัยผ่านแอปพลิเคชัน

ปัจจุบัน หลายประเทศได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และต้องเผชิญกับความท้าทายหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับปัญหาสุขภาพ ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ไปจนถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจ และโครงสร้างประชากร1 หนึ่งในปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม คือปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ตามลำพัง หรือในสถานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอาจรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว น้อยใจ ซึมเศร้า หรือถูกทอดทิ้ง ในประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ร้อยละ 12 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ในปี พ.ศ. 25642 ส่วนในประเทศสเปน ความโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ในปี 2556 อัลเบร์โต กาบาเนส (Alberto Cabanes) ชายหนุ่มชาวสเปนวัย 24 ปี ไปเยี่ยมปู่ของเขาที่สถานดูแลผู้สูงอายุเป็นประจำ เขาสังเกตว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ที่นั่นมักอยากเข้ามาทักทาย อยากพูดคุยด้วย โดยเฉพาะเบร์นาร์โด (Bernardo) พ่อหม้ายสูงวัยคนหนึ่งที่ไม่มีลูกหลาน ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของปีนั้น ชายหนุ่มได้ยินเบร์นาร์โดกล่าวว่า เขาอยากจะมีหลานปู่หลานตาสักคน อัลเบร์โตจึงตอบกลับไปว่า เขาจะเป็นหลานให้เบร์นาร์โดเอง3 นั่นคือจุดเริ่มต้นของโครงการ Adopta un abuelo ชื่อโครงการในภาษาสเปนเล่นกับคำกริยา “Adoptar”

Adopta un abuelo: สตาร์ตอัปจากสเปนที่ช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างวัยผ่านแอปพลิเคชัน Read More »

ความท้าทายของ Gen X กับการเป็น “แซนวิชเจเนอเรชั่น”

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายและพยายามหาแนวทางในการรับมือกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีลักษณะเป็นแบบพีระมิดแบบหดตัว (constrictive pyramid/ declining pyramid) ซึ่งเกิดจากจำนวนประชากรที่ลดลงจากอัตราการเกิดและอัตราการตายที่ต่ำ ทำให้จำนวนเด็กที่เกิดใหม่ไม่ได้สัดส่วนที่จะทดแทนคนรุ่นพ่อและแม่ได้1 ส่งผลต่อเนื่องให้ประเทศไทยเป็น “สังคมสูงอายุสมบูรณ์” (complete-aged society) เนื่องจากมีจำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากถึง 20.08% หรือ 13,064,929 คน จากจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎรทั้งหมด 66,052,615 ล้านคน2 ที่สำคัญ หากมองประชากรที่อยู่ในกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (pre-aging) นั่นคือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี จำนวน 10,005,690 คนในปัจจุบัน ที่ก็จะกลายเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีในอีก 10 ปีข้างหน้า ทำให้มองเห็นภาพของสังคมสูงอายุไทยที่จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประมาณ 23 ล้านคน หรือ 34% ของประชากรทั้งหมด1  ถ้าจะทำให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้นก็คือ ในทศวรรษหน้า ประชากรไทย 1 ใน 3 จะเป็นผู้สูงอายุ เมื่อแนวโน้มโครงสร้างทางประชากรของไทยเป็นเช่นนี้ การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับจำนวนประชากรสูงอายุไทยที่จะเพิ่มขึ้นในอีกทศวรรษ จะต้องเริ่มจากการให้ความสนใจไปที่กลุ่มวัยก่อนสูงอายุ เพื่อเตรียมคนเหล่านี้ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาระการดูแลจากภาครัฐ

ความท้าทายของ Gen X กับการเป็น “แซนวิชเจเนอเรชั่น” Read More »

ชวนส่องเทรนด์ไลฟ์สไตล์ผู้สูงอายุในปี 2567: แม้วัยจะเพิ่มขึ้นแค่ไหน แต่หัวใจยังคงสดใสอยู่เสมอ

การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุทั่วโลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำหน้าอย่างก้าวกระโดด การดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัลจึงส่งผลต่อวิถีคิดและการดำรงชีวิตผู้สูงอายุในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ Thailand Creative & Design Center (TCDC) ได้วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุรุ่น “เจนเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์” (เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489-2507 หรือ อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในปี 2567 โดยได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มและการเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ “Trend 2024: REMADE ANEW” 1 และได้นำเสนอไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุในหลากหลายด้าน จึงขอเชิญชวนมาส่องเทรนด์ไปด้วยกัน การสร้าง content ต้องเน้นเอาใจกลุ่มผู้สูงวัย เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหลังเกษียณ ผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์จะมีเวลามากมายในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของยุคดิจิทัล ทำให้เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งในโลก รวมถึงผู้สูงอายุยังกลายเป็นผู้ทดลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งแบบทดลองใช้ฟรีและแบบจ่ายเงินมากกว่า 1.2 พันล้านครั้งต่อเดือน นี่เป็นเหตุผลที่หลาย ๆ แบรนด์ ตัดสินใจลงทุนในการโฆษณาผ่านแอปพลิเคชันหรือทำการสร้างเนื้อหาที่เน้นเอาใจกลุ่มผู้สูงอายุที่มีรสนิยมที่แตกต่างกันออกไปบนสื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก หรือ TikTok เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่อไป2 แอปพลิเคชัน TikTok เป็นที่ชื่นชอบของเจนเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ คนในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์มองว่าการพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ และมักจะใช้เวลาในการเล่นสื่อโซเชียลเป็นพิเศษในช่วงโควิด-19 เมื่อไม่สามารถพบปะเพื่อนได้โดยตรง กลุ่มนี้ยังมีความยินดีที่จะสมัครสมาชิกหรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใหม่เพื่อพบเพื่อนเก่า หรือเพื่องานด้านสังคมในโลกออนไลน์

ชวนส่องเทรนด์ไลฟ์สไตล์ผู้สูงอายุในปี 2567: แม้วัยจะเพิ่มขึ้นแค่ไหน แต่หัวใจยังคงสดใสอยู่เสมอ Read More »

DOUYIN เครื่องมือใหม่ในการเข้าสังคมของผู้สูงอายุชาวจีน

ถ้าเราย้อนไปเมื่อหลายปีที่ผ่านมา โลกของเราได้มีแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Douyin  หรือในภาษาจีนเรียกว่า “抖音” (อ่านออกเสียงแบบภาษาจีนว่า “โต่วยิน”) หรือที่คนไทยเรารู้จักกันในชื่อ TikTok ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มคลิปวิดีทัศน์สั้นสัญชาติจีน เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2559 หรือกว่า 8 ปีมาแล้ว โดยมีจุดประสงค์คือ การผลิตและเผยแพร่วิดีทัศน์สั้น ๆ บนโลกออนไลน์ ผู้ใช้สามารถบันทึกคลิปวิดีทัศน์ที่มีความยาวตั้งแต่ 15 วินาที ไปจนถึง 10 นาที และยังสามารถอัปโหลดรูปภาพ ฯลฯ ได้อีกด้วย สามารถทำการลิปซิงค์ สร้างเอฟเฟกต์พิเศษและการตัดต่ออื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย และผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวิดีทัศน์ของผู้อื่นในแพลตฟอร์มได้อีกด้วย ซึ่งเดิมที Douyin นั้นเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียวิดีทัศน์ด้านดนตรีและวิดีทัศน์ที่สร้างสรรค์ ผู้ใช้สามารถเลือกเพลง ถ่ายวิดีทัศน์เพลง และสร้างผลงานของตนเองได้ผ่านซอฟต์แวร์นี้ หลังจากเปิดตัว Douyin ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่1 หลังจากเปิดตัวต่อสาธารณชนได้ไม่นาน Douyin ก็ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน และเมื่อดูสถิติจาก QuestMobile พบว่าช่วงอายุของผู้ใช้แพลตฟอร์ม Douyin ของชาวจีนนั้นเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า24 ปี

DOUYIN เครื่องมือใหม่ในการเข้าสังคมของผู้สูงอายุชาวจีน Read More »

ผู้หญิงสูงวัยมักก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันจริงหรือ? ภาพตัวแทนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้หญิงสูงวัยในสื่อไทย

บทนำ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน การส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเห็นได้จากการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลถูกกำหนดให้เป็นแนวทางวันผู้สูงอายุสากล (1 ตุลาคม) ในปี 2564 ที่ผ่านมา1 หน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยต่างให้ความสำคัญในประเด็นความรู้และทักษะด้านดิจิทัลของผู้สูงอายุ มีการนำมาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย และการจัดทำโครงการที่ปรากฏผลเป็นรูปธรรมออกมาอย่างหลากหลาย2 ผลจากการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้เกิดภาพตัวแทนและการอภิปรายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเป็นวงกว้าง เช่น ในสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มักสะท้อนทัศนคติแบบเหมารวมของผู้สูงวัย โดยมักมองผู้สูงวัยว่า ‘ไร้ความสามารถทางดิจิทัล’ เนื่องจากไม่ยอมเท่าทัน หรือไม่มีความสามารถเพียงพอในการปรับตัว และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีไม่เท่ากับกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงสูงวัย ซึ่งเป็นผลมาจากการกีดกันผู้หญิงออกจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตั้งแต่อดีต3 บทความนี้จะไขความกระจ่างเรื่องภาพตัวแทนและการกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ของผู้หญิงสูงวัย ดังที่ถูกนำเสนอในสื่อกระแสหลักของประเทศไทย โดยข้อมูลบางส่วนนำมาจากผลการวิจัยระดับปริญญาเอกของผู้เขียนเอง ทั้งนี้ ผู้เขียนจะเน้นไปที่ประเด็นการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในฐานะปัจจัยสำคัญของชีวิตผู้สูงวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง ผลการวิจัยยืนยันว่า แม้การส่งเสริมให้เกิดทักษะด้านดิจิทัลในกลุ่มผู้หญิงสูงวัยจะเป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ที่ดี แต่แนวทางของสื่อและวัฒนธรรมที่พยายามเกื้อหนุนนั้น กลับสร้างภาพจำในเชิงลบแก่ผู้หญิงสูงวัยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวอาจเพิ่มแรงกดดันให้กับผู้สูงอายุโดยไม่ได้ตั้งใจ กล่าวคือ การกดดันให้ต้องก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ แม้ว่าบางคนอาจจะไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือดิจิทัลได้เลยก็ตาม ในท้ายสุด ผู้เขียนจะแสดงให้เห็นถึงผลที่ตามมาของภาพตัวแทนดังกล่าว และข้อเสนอแนะที่จะเป็นแนวทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีแก่ผู้สูงวัยต่อไป สมรรถนะทางดิจิทัล: สมรรถนะที่พบได้น้อยในกลุ่มผู้หญิงสูงวัย ความรู้ด้านดิจิทัลมักถูกมองว่า เป็นคุณลักษณะอันหาได้ยากในกลุ่มผู้หญิงสูงวัย โดยสื่อมักนำเสนอและมองว่าคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อข่าวปลอม การฉ้อโกง และอาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อการใช้ชีวิตคนกลุ่มนี้

ผู้หญิงสูงวัยมักก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันจริงหรือ? ภาพตัวแทนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้หญิงสูงวัยในสื่อไทย Read More »

Scroll to Top