การออกแบบเทคโนโลยีของเครื่องมือสื่อสารเพื่อผู้สูงอายุ
ตามรายงานของสหประชาชาติ เรื่องการคาดการณ์ประชากรโลกนั้น จำนวนผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าภายใน ค.ศ. 2050 หรือจาก 962 ล้านคนทั่วโลกเป็น 2.1 พันล้านคน และอาจจะเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2100 (หรือประมาณ 3.1 พันล้านคน) ที่สำคัญคือกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีทั่วโลก อยู่ในระยะเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่าประชากรในกลุ่มอื่น ๆ1 นัยอย่างหนึ่งที่อาจมองได้จากการคาดการณ์ข้างต้นนี้ คือ การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในอนาคตอาจต้องประสบพบเจอกับเทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่ากระบวนการชราภาพจะแตกต่างกันไป แต่ทุกคนต่างต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานไม่มากก็น้อย และไม่ใช่ทุกคนที่จะชราภาพลงได้อย่างที่ตนเองคาดหวัง เมื่ออายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสรีระย่อมเกิดขึ้น และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสก็อาจจะลดน้อยถอยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าคนจำนวนมากที่อายุเกิน 60 อาจได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่กับเทคโนโลยีในวัยผู้ใหญ่มาเกือบทั้งชีวิตแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงทางสรีระอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลในเชิงเทคโนโลยีการช่วยเหลือ โดยปกติแล้ว ตั้งแต่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป เลนส์สายตาของคนเราจะเริ่มแข็งตัว ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “สายตายาวตามอายุ” ซึ่งเป็นเรื่องปกติของอายุ จนทำให้การอ่านข้อความขนาดเล็กและระยะใกล้ทำได้ยากขึ้น การมองเห็นสีสันต่าง ๆ ก็ยังลดลงตามอายุ การแยกแยะความแตกต่างระหว่างสีที่มีเฉดคล้ายกันจะทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฉดสีฟ้าดูเหมือนจะจางลง การได้ยินเสียงของผู้สูงวัยก็ยังลดลงมิต่างกัน และส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี […]
การออกแบบเทคโนโลยีของเครื่องมือสื่อสารเพื่อผู้สูงอายุ Read More »