Literacy-th

เฟซบุ๊กกับผู้สูงวัย

จากการคาดการณ์จำนวนประชาการทั่วโลกพบว่า ในระหว่าง ค.ศ. 2015 ถึง ค.ศ. 2050 โลกของเราจะมีผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเพิ่มขึ้นจาก 900 ล้านคน เป็น 2 พันล้านคนทั่วโลก ในจำนวนตัวเลขของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นนี้ แม้ผู้สูงอายุในบางประเทศอาจประสบปัญหาอุปสรรคในการเชื่อมต่อทางสังคมออนไลน์ แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็จะสามารถเข้าถึงโลกออนไลน์และใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Services) ในอนาคตข้างหน้าได้มากขึ้นตามตัวเลข ในปัจจุบัน หนึ่งในบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมคือเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้กลุ่มเพื่อนวัยเรียนในอดีตได้เชื่อมต่อถึงกัน  โดยทั่วไปแล้วเว็บไซต์เครือข่ายสังคมนั้น ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมของคนหนุ่มสาว แต่ในทางกลับกัน เฟซบุ๊กได้กลายเป็นต้นทุนทางสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุเช่นกัน เพราะทำให้ผู้สูงอายุติดต่อเชื่อมถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (belongingness) ที่ต่างไปจากการใช้เครือข่ายสังคมแบบดั้งเดิม (non-traditional) มีรายงานชิ้นหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 2018 ในสหราชอาณาจักร1 พบว่าเด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี จำนวนถึง 2.2 ล้านคน และเด็กอายุ 18 ถึง 24 ปี จำนวน 4.5 ล้านคน […]

เฟซบุ๊กกับผู้สูงวัย Read More »

“ตุ๊กตาวูดู” กับ “โลกที่เราอยากเห็น”: การกรองด้วยตะแกรงแห่ง “สติ”

  พหุวิถี: สื่อสารยุคใหม่ แนวที่ใช่ของ พ.ศ. นี้ (Multimodality: the 21st Century Communication) คำกล่าวที่ว่า สื่อ(มวลชน)มีอิทธิพลกับชีวิตของคนเรา “ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนถึงเวลาหลับ” หรือ “ตั้งแต่เกิดจนตาย” นั้นยังคงใช้ได้อยู่เสมอ โดยที่โลกทุกวันนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทหลักในการติดต่อสื่อสาร สื่อออนไลน์มีความสำคัญแบบก้าวกระโดด และสื่อ(มวลชน)เก่าถูกลดบทบาทลงอย่างชัดเจน เทคโนโลยีการสื่อสารได้สร้างการเปลี่ยนถ่ายอำนาจและองค์ความรู้ โดยให้พื้นที่แก่ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มทางสังคมต่าง ๆ ที่อาจไม่เคยมีตัวตนหรือมีความสำคัญในสื่อกระแสหลักมาก่อนเพื่อผลิตวาทกรรมของตนเองในทางที่อาจจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เผยแพร่ในกระแสหลัก หรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  สื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ ความบันเทิง สร้างสติปัญญา มอบความสุข ความรื่นรมย์ ความสมหวัง ตลอดจนยั่วยุให้เกิดความหงุดหงิด รำคาญใจ หรือกระทั่งเป็นทุกข์ได้ สื่อเป็นตัวสร้างโลกด้วยชุดความจริงหนึ่ง ที่ทำให้เราเชื่อถือ ยึดโยง และปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น สื่อจึงเปรียบเสมือนพลังขับเคลื่อนทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง สูงวัย: ความโยงใย กับ “พหุแพลตฟอร์ม” เมื่อมองถึงบริบททางการสื่อสารของประเทศไทย พบว่าภาพการสื่อสารแบบ “พหุวถี” (multimodality) มีความแจ่มชัดเช่นเดียวกับในภูมิทัศน์การสื่อสารของโลก (global media landscape) กล่าวคือมีการหลอมรวม  สื่อ(มวลชน)เก่า

“ตุ๊กตาวูดู” กับ “โลกที่เราอยากเห็น”: การกรองด้วยตะแกรงแห่ง “สติ” Read More »

บทบาทของผู้สูงวัยและชุมชุนในการจัดการขยะ

ในสังคมยุคใหม่ที่เน้นการผลิตและการบริโภค ย่อมก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลและขยะอันเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างมหาศาล แม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายในการให้ความรู้เพื่อเปลี่ยนวิธีคิดของผู้บริโภคไปสู่การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ การรีไซเคิล หรือการหันมาใช้วัสดุที่ยั่งยืน แต่จำนวนประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้การส่งเสริมความรู้ในการจัดการขยะหรือของเหลือใช้ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ แม้จะมีคำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์หลายครั้งว่ามนุษย์เรากำลังสร้างความเสียหายให้กับโลกด้วยอัตราที่น่าตกใจ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมของคนแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันหรือไม่ ทั้งนี้ ผู้สูงวัยกับกลุ่มวัยรุ่นหรือวัยทำงานซึ่งมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น จะตระหนักถึงอันตรายจากการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ข้อมูลที่น่าสนใจจาก Recycle Magazine ระบุว่า ในสหราชอาณาจักร ผู้เกษียณอายุยังคงรักษาความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของตนไว้ได้ค่อนข้างดี แม้จะเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ทำให้ผู้สูงอายุมีอำนาจใช้จ่ายและมีเวลาเหลือมากกว่าเคย การศึกษาชี้ว่าขยะจากชุมชนของผู้สูงวัยมีมากกว่าชุมชนอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ โดยหนึ่งในนั้นเป็นผลจากความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย คนในวัยหลังเกษียณจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่สร้างขยะมากขึ้นโดยไม่ตั้งใจ อีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งต่างกับกรณีข้างต้น คือ ฮ่องกงซึ่งมีประชากรสูงวัยค่อนข้างมาก แต่ไม่มีการสนับสนุนในด้านความรู้ในการจัดการขยะที่เพียงพอสำหรับผู้สูงวัย ผู้สูงอายุจำนวนมากในฮ่องกงมีฐานะยากจน ไม่มีเงินออมหรือมีเงินบำนาญ และหลายคนต้องอยู่ในสภาพหารายได้จากขยะและการรีไซเคิล เช่น การซื้อขายกระดาษแข็งนอกถนน กระนั้นก็ดี กรณีของฮ่องกงนี้ กลับแสดงให้เห็นว่า แม้ผู้สูงวัยอาจมีรายได้น้อย แต่ก็ตระหนักถึงประโยชน์จากสิ่งของเหลือใช้ ทั้งในแง่อาชีพและสภาพแวดล้อม มากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้สูงและไม่สนใจเรื่องการจัดกับสิ่งที่เหลือใช้อย่างมีประสิทธิภาพ1 สำหรับในประเทศไทย มีการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนโดยการนำของผู้สูงวัย ส่วนมากเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติหรือการศึกษาสภาพปัจจุบัน ตลอดจนการรับมือหรือมาตรการท้องถิ่นในการทำให้ชุมชนสะอาด เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในระดับชุมชนของผู้สูงวัยในสังคมไทย ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยของวิสาขา ภู่จินดา และภารณ

บทบาทของผู้สูงวัยและชุมชุนในการจัดการขยะ Read More »

เกษตรกรสูงวัยไทยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารในการเพิ่มผลผลิต

ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ กลุ่มผู้สูงวัยที่มีจำนวนมากขึ้นนี้ยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันสังคมและเศรษฐกิจ เพราะการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าทำให้สุขภาพของผู้สูงวัยแข็งแรง ยังมีกำลังที่จะประกอบอาชีพในหลาย ๆ ภาคส่วน รวมถึงภาคการเกษตรของไทยซึ่งเป็นภาคการผลิตที่มีขนาดใหญ่ด้วย จากการรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้สูงอายุที่ทำงานส่วนใหญ่ของไทย เป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านเกษตรและประมง ร้อยละ 60.8 รองลงมาเป็นพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า ผู้สูงอายุที่มีฝีมือด้านเกษตรและประมงนั้น มีจำนวนสูงสุดเกือบทุกภาค โดยมีจำนวนมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 78.6 รองลงมาเป็นภาคใต้และภาคเหนือ1 งานวิจัยของไทยชิ้นหนึ่งระบุว่า การเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์จะส่งผลลบต่อศักยภาพการผลิตของภาคเกษตรไทย กล่าวคือ หากสัดส่วนแรงงานที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้นในระบบการผลิต (เมื่อเทียบกับแรงงานในวัยทำงาน) ประสิทธิภาพทางการผลิตจะลดน้อยลงเป็นอย่างมาก2 นอกจากนั้น ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นที่เป็นตัวอย่างของปัญหาการทำเกษตรในกลุ่มผู้สูงวัย แม้รัฐบาลจะมีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แล้วก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวจัดทำขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร สินค้าและผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดกำลังทรัพย์ในการทำการเกษตรอินทรีย์ หน่วยงานที่เข้าไปส่งเสริมขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง3 กระนั้นก็ดี หลายประเทศต่างพบปัญหาสังคมสูงวัยในภาคการเกษตรเช่นเดียวกับไทย แต่ประเทศเหล่านั้นก็ได้พัฒนาหนทางในการใช้เทคโนโลยีสื่อสารเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสูงวัยได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรสูงวัยที่น่าสนใจ ได้แก่ การออกแบบเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นซึ่งตอบสนองต่อสังคมเกษตรกรรมสูงวัยได้อย่างชาญฉลาด โดยมีการคิดค้นระบบข้อมูลซี่งอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นตัวช่วย ซึ่งเรียกว่า “ระบบข้อมูล 4 ส่วน” นักวิจัยและพัฒนาได้นำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับการผลิตและจำหน่ายใบไม้กับดอกไม้ตกแต่งอาหาร (tsumamono) ของบริษัทอิโรโดริ ในเมืองคามิคาซึ4

เกษตรกรสูงวัยไทยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารในการเพิ่มผลผลิต Read More »

“ห้องแห่งเสียงสะท้อน” ปรากฏการณ์บนโลกออนไลน์ที่แก้ไขได้ด้วย “ความเข้าใจ”

ท่านเคยดูหน้าบัญชีเฟซบุ๊กของเพื่อนหรือไม่ หากเคย…จะพบว่าเรื่องราวที่ปรากฏในหน้าฟีดเฟซบุ๊กของเพื่อนนั้น แตกต่างจากหน้าฟีดเฟซบุ๊กของท่าน ซึ่งหน้าฟีดเฟซบุ๊กได้สะท้อนความเป็นตัวตนของเจ้าของบัญชีว่ามีไลฟ์สไตล์แบบไหน มีงานอดิเรกอะไร ติดตามดาราหรือสนับสนุนพรรคการเมืองใด แล้วท่านเคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาคุณค้นหาสินค้าสักอย่างหนึ่งในสื่อออนไลน์ เช่น เครื่องฟอกอากาศ เมื่อคุณเข้าแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะปรากฏโฆษณา “เครื่องฟอกอากาศ” เป็นจำนวนมาก บรรดาร้านค้าออนไลน์บนเว็บไซต์และสื่อสังคมจะยกขบวน “เครื่องฟอกอากาศ” มากมายหลายยี่ห้อมานำเสนอในทุกช่องทาง โดยที่ท่านไม่ต้องค้นหาเอง หรือเมื่อคุณดูวิธีทำอาหารสักอย่างหนึ่งบนยูทูปจบลง สิ่งที่ยูทูปแนะนำคุณให้เข้าไปชมอีกจะมีแต่วิธีทำอาหารที่น่ารับประทาน ดูเป็นของชอบของท่านไปทุกอย่าง ทำให้ท่านต้องใช้เวลารับชมผ่านแพลตฟอร์มนี้นานกว่าที่ตั้งใจไว้ Echo Chamber: ปรากฏการณ์ห้องแห่งเสียงสะท้อนบนโลกออนไลน์ ปรากฏการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากผลของ Echo Chamber หรือ นักวิชาการไทยแปลว่า “ห้องแห่งเสียงสะท้อน” เป็นการอธิบายถึงสถานการณ์ที่คนได้ยินหรือรับรู้แต่ความคิดเห็นแบบเดียวกัน ซึ่งไม่เพียงเกิดขึ้นเฉพาะในโลกออนไลน์เท่านั้น แต่เมื่อเราได้คลุกคลีกับคนที่คิดเหมือน ๆ กับเรา ชอบแบบเดียวกับเรา อยู่ในกลุ่มของคนที่มีความคิดเห็นเหมือนกัน ทำให้เราได้รับรู้และซึมซับความคิดเห็นหรือความจริงเพียงด้านเดียว แต่ในปัจจุบัน Echo Chamber ถูกนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสื่อออนไลน์ เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต่างก็อาศัยอยู่ในโลกใบที่สองนี้เรียบร้อยแล้ว หรือบางคนอาจจะใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากกว่าในโลกแห่งความเป็นจริงด้วยซ้ำไป การอธิบายห้องแห่งเสียงสะท้อนเป็นการเปรียบเทียบโดยใช้หลักการของเสียงสะท้อน เมื่ออยู่ในห้องแคบ “เราตะโกนอะไร เราก็จะได้ยินเสียงนั้นกลับมา ยิ่งตะโกนดังมากแค่ไหน เรายิ่งได้ยินเสียงนั้นดังมากเท่านั้น” การกลั่นกรองเนื้อหาโดยผู้ใช้สื่อและเทคโนโลยี สถานการณ์ที่คนจะได้ยินเพียงความคิด ข้อมูล

“ห้องแห่งเสียงสะท้อน” ปรากฏการณ์บนโลกออนไลน์ที่แก้ไขได้ด้วย “ความเข้าใจ” Read More »

การรับมือกับข่าวสารโควิด-19 ในโลกออนไลน์ของผู้สูงอายุ…ตนเอง ครอบครัว เพื่อน

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เริ่มรุนแรงในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2563 เห็นได้ชัดว่า โรคร้ายนี้กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางอย่างกลุ่มผู้สูงอายุ มาตรการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ได้กลายเป็นเรื่องปกติในหลายประเทศทั่วโลก ได้ทำให้การปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวลดลงอย่างเลี่ยงมิได้ สิ่งนี้อาจก่อปัญหาทางด้านจิตใจในกลุ่มผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องอยู่เพียงลำพัง แม้เทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารกันในสังคมสามารถสานต่อปฏิสัมพันธ์ที่ขาดหายไปได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการเว้นระยะห่างทางกายภาพเช่นนี้ แต่ผู้สูงอายุมักไม่อาจเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ดีเท่าที่ควร หรือในบางกรณี อาจขาดทักษะหรือประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเข้าสู่โลกออนไลน์ ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย เช่น ตกเป็นเป้าหมายของข้อมูลเท็จ หรือการหลอกลวงโดยกลุ่มมิจฉาชีพ ทั้งสองกรณีนี้มีให้เห็นอยู่นับไม่ถ้วนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยกตัวอย่างในประเทศอินเดีย ซึ่งมีการระบาดของเชื้อไวรัสสูงที่สุดในโลกในช่วงปี 2563 นักวิชาการด้านจิตวิทยาผู้สูงอายุ เดบันจัน บาเนร์จี ได้นำเสนอตัวเลขเกี่ยวกับผู้สูงอายุในช่วงวิกฤตที่น่าสนใจ กล่าวคือ ผู้สูงอายุในอินเดียถึงร้อยละ 85 ไม่มีความรู้ด้านดิจิทัลเพียงพอ จึงมีความเสี่ยงที่จะรับหรือส่งต่อข้อมูลเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการมองเห็น ซึ่งหมายความว่า เมื่อต้องถูกกักตัวหรือแยกตัวห่างไกลจากการดูแลของคนในครอบครัว ก็อาจไม่เข้าใจข้อมูลที่ได้รับ หรือได้รับอย่างไม่ครบถ้วน ประกอบกับประสาทสัมผัสที่เสื่อมลงตามเวลา ทำให้ความสามารถในการเปิดรับข้อมูลอย่างถี่ถ้วนลดลงตามไปด้วย ข้อมูลลวงที่ระบาดหนัก หรือข้อมูลจริงแต่มีเป็นจำนวนมาก อาจก่อความเข้าใจผิดจนเกิดความเสียหายได้ ผู้สูงอายุอาจรับข้อมูลได้เพียงบางส่วนเพราะสภาพร่างกายไม่อำนวย เมื่อรู้เพียงครึ่งก็ปฏิบัติเพียงครึ่ง หรือที่แย่ที่สุด ก็คือการปฏิบัติตามข้อมูลผิด ๆ ที่มาจากการระบาดข้อมูลเหล่านั้น1 ปรากฏการณ์การระบาดข้อมูลนี้ ตรงกับสิ่งที่องค์การอนามัยโลก (World Health

การรับมือกับข่าวสารโควิด-19 ในโลกออนไลน์ของผู้สูงอายุ…ตนเอง ครอบครัว เพื่อน Read More »

ผลการวิจัยชี้เทคโนโลยีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงวัยกับคนต่างวัย

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การพบปะระหว่างคนในครอบครัวในระยะใกล้เป็นไปได้ยาก ครั้นจำเป็นต้องกักบริเวณเมื่อผู้ที่ตรวจพบเชื้อ ก็ยิ่งทำให้การพบกันทางกายภาพเป็นไปไม่ได้ หนทางเดียวที่จะนำพาผู้คนให้รักษาสัมพันธ์ระหว่างกันได้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ คือเทคโนโลยีการสื่อสารที่จะช่วยให้การพูดคุยและการพบหน้าไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่บางครั้ง เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือแม้แต่การไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ก็ยังคงเป็นปัญหาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะมักไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าถึงเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับคนกลุ่มอายุอื่น บางรายอาจไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ หรือแม้แต่เครื่องมือสื่อสาร กระนั้นก็ดีแม้ว่าผู้สูงอายุจะหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเชื่อมต่อ หรือสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัวผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ งานวิจัยในออสเตรเลีย ได้ศึกษาวิธีการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวในช่วงการเว้นระยะห่างทางสังคมผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93) มักติดต่อสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่อื่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วงการระบาดเป็นวงกว้าง แต่ร้อยละ 37 ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่าการเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นไปได้ยาก ผู้สูงอายุมีปัญหาในการติดต่อกันมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีเพียงร้อยละ 23 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี บอกว่าพวกตนติดต่อกับคนอื่น ๆ ในครอบครัวทุกวัน แต่เป็นจำนวนที่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปี นอกจากนั้น เมื่อถามว่า ได้ติดต่อกับบุคคลที่รักน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์หรือไม่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ตอบว่าใช่ คิดเป็นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี กลับมีเพียงร้อยละ 41 ทั้งนี้

ผลการวิจัยชี้เทคโนโลยีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงวัยกับคนต่างวัย Read More »

Scroll to Top