Author name: admin

ทำความรู้จัก “แกรนด์อินฟลูเอนเซอร์ (Grandinfluencer)” เมื่อคุณตาคุณยายหันมาสร้างคอนเทนต์ออนไลน์

ลองทายกันสิว่า หนึ่งในคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ประสบความสำเร็จและมีอายุมากที่สุดในโลก มีอายุเท่าไหร่? พบกับ ลิเลียน โดรนิแอก (@grandma_droniak) คุณยายวัย 94 ปีจากคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา อินฟลูอินเซอร์รุ่นลายครามที่มีผู้ติดตามใน TikTok มากถึง 14.7 ล้านคน และใน IG อีกกว่า 3.4 ล้านคน คุณยายลิเลียนขนานนามตัวเองอย่างมีอารมณ์ขันว่าเป็น “แฟชั่นโมเดล” และเริ่มสร้างคอนเทนต์กับหลานชายมาตั้งแต่ปี 2019 เนื้อหาในช่องของคุณยายมีทั้งคลิปเต้น คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์ รวมทั้งคลิปตลกขบขันต่าง ๆ ที่มีตั้งแต่การสอนทำค็อกเทลไปจนถึงการเตรียมตัวออกเดต! คุณยายลิเลียนเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุที่หันมาสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แกรนด์อินฟลูเอนเซอร์” ที่รวมคำว่า “แกรนด์” จาก grandparents ที่หมายถึงคุณตาคุณยาย เข้ากับคำว่า “อินฟลูเอนเซอร์”  หรือผู้ที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ ปัจจุบันผู้สูงอายุจำนวนมากหันมาผลิตคอนเทนต์ออนไลน์หลากหลายรูปแบบในอินเทอร์เน็ตร่วมกับลูกหลานของตน ซึ่งมีตั้งแต่การทำอาหาร ทำสวน ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว หรือคอนเทนต์ให้คำแนะนำและสร้างความสนุกสนานแบบในช่องของคุณยายลิเลียน โดยคุณยายเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ทุกครั้งที่ได้ถ่ายคลิป คุณยายก็จะรู้สึกเหมือนกลับไปมีอายุ 65 อีกครั้ง! หรือนี่จะเป็นเหตุผลที่ผู้สูงอายุผันตัวมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์กัน? ทำไมผู้สูงวัยถึงอยากสร้างคอนเทนต์ออนไลน์? ก่อนอื่น […]

ทำความรู้จัก “แกรนด์อินฟลูเอนเซอร์ (Grandinfluencer)” เมื่อคุณตาคุณยายหันมาสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ Read More »

🔊 สูงวัยยุคใหม่ใช้สื่อได้ ประยุกต์สื่อเป็น พร้อมต่อยอดความสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าและรายได้ให้แก่ตนเอง

🔊 สูงวัยยุคใหม่ใช้สื่อได้ ประยุกต์สื่อเป็น พร้อมต่อยอดความสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าและรายได้ให้แก่ตนเอง Read More »

ความท้าทายของผู้สูงอายุในการเผชิญหน้ากับข่าวลวงในยุคดิจิทัล

การแยกแยะข้อเท็จจริงจากเรื่องเท็จเป็นเรื่องที่ท้าทาย และในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ข่าวลวงกลับถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็วกว่าความจริง1 ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดและมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่าง ๆ แม้ว่าข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนี้จะกระจายไปทั่วทุกกลุ่มอายุ แต่งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุมักหลงเชื่อและแชร์ข่าวลวงมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ2,3 หลังการเลือกตั้งปี 2016 คำว่า “ข่าวลวง” ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอเมริกัน ชาวอเมริกันจำนวนมากมองว่าข่าวลวงเป็นภัยคุกคาม งานวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญในการแพร่กระจายข่าวลวงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตัวอย่างเช่น ในฟีดทวิตเตอร์ของผู้สูงอายุ พบว่ากว่าร้อยละ 2 ของการเข้าถึง URL ทางการเมืองมาจากเว็บไซต์ข่าวปลอม ขณะที่ตัวเลขนี้ต่ำกว่าร้อยละ 1 ในกลุ่มผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว นอกจากนี้ ผู้ใช้อายุเกิน 50 ปี ยังมีส่วนร่วมในการแชร์ข่าวลวงถึงร้อยละ 80 ของการแชร์ทั้งหมด ใน Facebook ก็มีรูปแบบที่คล้ายกัน โดยผู้ใช้อายุเกิน 65 ปีแชร์ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ข่าวปลอมมากกว่าผู้ใช้ที่อายุน้อยกว่าถึง 7 เท่า5 แม้ว่าจะมีการควบคุมตัวแปรอื่น เช่น ความนิยมทางการเมือง ระดับการศึกษา และกิจกรรมการโพสต์โดยรวม แต่ผลกระทบของอายุยังคงชัดเจน3 โดยผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะแชร์ข่าวลวงมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีอัตราการแชร์ข่าวลวงสูงกว่าคนหนุ่มสาวสองเท่า นอกจากนี้ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50

ความท้าทายของผู้สูงอายุในการเผชิญหน้ากับข่าวลวงในยุคดิจิทัล Read More »

หนังสือเสียง: ตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมักมีความเสี่ยงต่อสภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติ นอกจากนี้ เมื่อเข้าสู่วัยชราผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยเกิดความเครียด วิตกกังวล ทั้งในด้านความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ สถานะทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตไม่แพ้คนในวัยทำงานและวัยรุ่น จึงมีการใช้วิธีบรรณบำบัด (Bibliotherapy) มาช่วยเสริม แต่เนื่องจากหนังสือแบบเล่มมีข้อจำกัดหลายประการ การใช้เทคโนโลยีมาช่วยผู้สูงอายุอ่านหนังสืออย่างหนังสือเสียงจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และเริ่มมีงานวิจัยมารองรับแล้วด้วย บรรณบำบัด: ข้อดีและข้อจำกัด ในต่างประเทศ หนึ่งในวิธีที่แพทย์นำมาใช้ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิตคือบรรณบำบัด (Bibliotherapy) ด้วยการมอบหมายให้คนไข้อ่านหนังสือร่วมกับใช้วิธีการบำบัดอื่น ๆ ควบคู่ วิธีการดั้งเดิมของบรรณบำบัดในผู้ป่วยสุขภาพจิตที่มีผลการวิจัยรองรับในเบื้องต้นแล้วว่าได้ผล คือ การให้คนไข้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิตในระดับเบื้องต้นและระดับกลางอ่านหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องโดยให้แพทย์ประจำตัวเป็นผู้คัดเลือก การอ่านหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพจิตช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับสภาวการณ์ปัจจุบันและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง อีกทั้งยังให้ความร่วมมือในการรักษามากขึ้น แต่ทีมวิจัยโครงการ HANDI เน้นย้ำว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลเฉพาะผู้ป่วยที่มีความคิดเชิงบวกในการช่วยเหลือตนเอง ซึ่งแพทย์กำหนดหนังสือโดยมีการควบคุมค่าใช้จ่าย และรักษาได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา1 สำหรับวิธีการแบบใหม่ที่ผ่านการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างในประเทศอิหร่านมาแล้ว แพทย์ได้ให้ผู้ป่วยสูงอายุฟังหนังสือเสียงที่เลือกเองจากแนวเนื้อหาที่สนใจ งานวิจัยของอเมรีและคณะ พบว่าผู้ป่วยเลือกแนวเนื้อหาที่หลากหลาย ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี เช่น หนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ คัมภีร์อัลกุรอาน หนังสือฮาวทู งานวิจัยยังพบว่า ผู้ป่วยสูงอายุสุขภาพจิตดีขึ้นระหว่างการรักษา ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ หนังสือเสียงยังช่วยแก้ไขปัญหาการเข้าถึงความรู้ในหมู่ผู้ป่วยสูงอายุที่อ่านหนังสือไม่ออกและมีปัญหาสายตาร่วมกับปัญหาสุขภาพจิต2 อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวมีข้อจำกัดตรงที่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยสุขภาพจิตที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้เท่านั้น คือ อาการซึมเศร้า อาการวิตกกังวล โรคกลัวขั้นรุนแรงหรือโฟเบีย อาการหวาดระแวงจากความวิตกกังวล พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โรคขาดความยับยั้งชั่งใจ

หนังสือเสียง: ตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ Read More »

ภาษาสื่อกับการสร้างการรับรู้ของผู้สูงอายุ

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส บทบาทของภาษาที่ใช้ในสื่อมีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดการรับรู้ (perception) โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่อาจไม่เชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเท่ากับคนรุ่นใหม่ ภาษาในสื่อสามารถส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อความเข้าใจและการรับรู้ของผู้สูงอายุ การใช้ภาษาไม่ได้เป็นเพียงการสื่อสารเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการตีความข้อมูล การซึมซับความหมาย และการตอบสนองต่อข้อมูลเหล่านั้นด้วย1 บทความนี้จะสำรวจถึงผลกระทบของภาษาที่ใช้ในสื่อต่อการรับรู้ของผู้สูงอายุ โดยเน้นที่ผลกระทบทางจิตวิทยาและสังคมเป็นสำคัญ ภาษาสื่อเป็นเครื่องมือที่มีพลัง สามารถช่วยให้เข้าใจหรือบิดเบือนความจริงได้ สื่อมักใช้เทคนิคทางภาษา เช่น การสร้างกรอบความหมาย (framing) การใช้อุปลักษณ์ (metaphor) และการใช้คำกล่าวเกินจริง (hyperbole) ในการสร้างเรื่องราวที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้ชม2 โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักพึ่งพาสื่อแบบดั้งเดิม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เปราะบางต่อเทคนิคเหล่านี้ การนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่ต่างออกไปอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด (misunderstandings) การตอกย้ำภาพลักษณ์เชิงลบ (reinforcing stereotypes) หรือสร้างความกลัวและความกังวลที่ไม่จำเป็น (creating unnecessary fear or anxiety) ในกลุ่มนี้3 หนึ่งในวิธีที่สำคัญที่สุดที่ภาษาสื่อส่งผลต่อผู้สูงอายุคือการสร้างกรอบความหมาย การสร้างกรอบความหมาย คือการนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่มีผลต่อการตีความในประเด็นเฉพาะ ตัวอย่างเช่น รายงานข่าวที่เกี่ยวกับสุขภาพมักใช้ภาษาที่เน้นถึงความเสี่ยงหรืออันตราย ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุรับรู้ถึงสภาพสุขภาพบางประการว่ามีความน่ากลัวมากกว่าความเป็นจริง4 ทำให้เกิดความกังวลและความเครียดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อภาษาที่ใช้เป็นภาษาที่สร้างความตื่นตระหนกหรือภาษาที่เกินจริง อุปลักษณ์เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่มักถูกนำมาใช้ในสื่อ ซึ่งมีผลกระทบที่ทรงพลัง ถ้อยคำอุปลักษณ์ทำให้ประเด็นที่ซับซ้อนง่ายขึ้นสำหรับการทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตาม อุปลักษณ์อาจสร้างการรับรู้ที่บิดเบือนไปหรือมีลักษณะเรียบง่ายเกินความเป็นจริงไป ตัวอย่างเช่น การอธิบายสถานการณ์ทางการเงินที่ตกต่ำว่าเป็น “การพังทะลาย”  อาจทำให้เกิดภาพลักษณ์ของความหายนะและความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงินของตนเอง5 ภาษาดังกล่าวอาจส่งผลต่อการตัดสินใจและพฤติกรรมของพวกเขา

ภาษาสื่อกับการสร้างการรับรู้ของผู้สูงอายุ Read More »

“สื่อ” สร้างเสริมพฤฒพลังให้แก่ผู้สูงอายุ

“สังคมผู้สูงอายุ” เป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างกำลังให้ความสนใจและต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันภาพรวมประชากรโลกเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว และเมื่อมองลงไประดับทวีปจะพบว่า เกือบทุกทวีปก็กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว ยกเว้นทวีปแอฟริกา1 ในขณะที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 และปัจจุบันได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรนี้ จะนำมาซึ่งปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ปัญหาวัยแรงงานน้อยลง ส่งผลให้ค่าแรงสูงขึ้น ค่าครองแรงสูงขึ้น2 ปัญหาความเครียดจากการแบกรับภาระผู้สูงอายุของวัยแรงงานในครอบครัว ตลอดจนปัญหาความซึมเศร้า รู้สึกน้อยใจ รู้สึกเป็นภาระลูกหลานของตัวผู้สูงอายุเอง จนนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ซึ่งส่งผลต่อเงินออมที่ตั้งใจเก็บไว้ใช้ตอนวัยสูงอายุจะไม่เพียงพอ3   “พฤฒพลัง” คืออะไร ? องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวคิด “Active Ageing”4 โดยเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อนำพาผู้สูงอายุไปสู่การมีสุขภาพที่ดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน และมีหลักประกันที่มั่นคง โดยใช้เป็นแนวทางเพื่อให้แต่ละประเทศได้นำไปปรับใช้ในการรับมือกับสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของ ผู้สูงอายุ และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต่อไป โดยภาวะ “พฤฒพลัง” ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สุขภาพ ซึ่งหมายรวมถึง ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยการที่จะมีภาวะสุขภาพที่ดี จึงไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย นอนหลับอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เท่านั้น

“สื่อ” สร้างเสริมพฤฒพลังให้แก่ผู้สูงอายุ Read More »

Scroll to Top