Author name: admin

2563: แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

นิธิดา แสงสิงแก้ว นันทิยา ดวงภุมเมศ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลโครงการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ ดิจิทัล (MIDL)3 ซึ่งได้ติดตามผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2561 ด้วยการใช้ ข้อมูลปฐมภูมิ ผ่านการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกของคณะประเมิน ผล และข้อมูลทุติยภูมิ ด้วยการศึกษารายงานผลจากโครงการย่อยและรายงาน ผลการประเมินการดำเนินงานของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนในภาพรวม เฉพาะ ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับ MIDL โดยบทความให้ความสำคัญกับมิติ “พื้นที่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความเรื่อง “เมือง” ผ่านการสื่อสารภายใต้แนวคิดเมือง ทั่วถึง หรือเมืองที่ไม่ทอดทิ้งกัน (inclusive city) ในฐานะที่เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง เป็นทางเลือกหนึ่งในการมอง “เมือง” ให้เป็นโอกาสในการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ กลุ่มสังคมย่อยมีโอกาสเข้าถึง ออกแบบ มีส่วนร่วม และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ ความเป็นเมืองนั้น นิธิดา แสงสิงแก้ว, และนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2563). แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล : เมื่อ […]

2563: แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง Read More »

2561: การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง

ยงยุทธ บุราสิทธิ์ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.สำรวจคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุในสังคมเมืองที่มีพลวัตสูง 2.สำรวจสถานการณ์ของครอบครัวในสังคมเมืองที่มีผลกระทบต่อค่านิยมด้านคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ และ 3.เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีให้แก่ผู้สูงอายุในสังคมเมือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัว โดยศึกษาผู้สูงอายุจำนวน 336 คนและลูก/หลานจำนวน 335 คนในเขตเทศบาลนครนครปฐมใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและสัดส่วนและการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประเมินว่าตนเองมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในระดับสูง รู้สึกมีอิสระในการตัดสินใจได้รับการเคารพยกย่องจากลูกหลานและการเป็นที่พึ่งทางใจของครอบครัว  ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีทัศนคติต่อค่านิยมในเชิงบวกด้านการเคารพผู้สูงอายุสูงกว่าเพศชายแนวทางในการส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีให้แก่ผู้สูงอายุคือการสร้างฐานสุขภาพที่แข็งแรงให้กับผู้สูงอายุ การควบคุมโรคเรื้อรัง การสร้างสุขภาพจิตที่ดี การปลูกฝังความรัก ความผูกพัน และการตอบแทนบุญคุณ ยงยุทธ บุราสิทธิ์ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2561). การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 37(2), 129-150. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/209525/145097

2561: การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง Read More »

2015: Buddhist social networks and health in old age: A study in central Thailand

Kwanchit Sasiwongsaroj Taizo Wada Kiyohito Okumiya Hissei Imai Yasuko Ishimoto Ryota Sakamoto Michiko Fujisawa Yumi Kimura Wen-ling Chen Eriko Fukutomi Kozo Matsubayashi Abstract Aim Religious social networks are well known for their capacity to improve individual health, yet the effects of friendship networks within the Buddhist context remain largely unknown. The present study aimed to

2015: Buddhist social networks and health in old age: A study in central Thailand Read More »

2014: Buddhist temple: A religious capital approach for preparing Thailand toward the aging society

Saowapa Pornsiripongse Kwanchit Sasiwongsaroj Patcharin Ketjamnong Thailand is experiencing a rapid increase in older population. The phenomenon has attracted the attention of various sectors in order to develop suitable guidelines to accommodate this situation. The objective of this chapter is to propose an alternative for the care of older persons by analyzing the plausibility of

2014: Buddhist temple: A religious capital approach for preparing Thailand toward the aging society Read More »

Scroll to Top