Author name: admin

การขยายผลหลักสูตร “วัยเพชรรู้ทันสื่อและการสำรวจสถานการณ์ ผลกระทบการบริโภคสื่อ”

ReportResearch-2022-Expanded  

การขยายผลหลักสูตร “วัยเพชรรู้ทันสื่อและการสำรวจสถานการณ์ ผลกระทบการบริโภคสื่อ” Read More »

“สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง” สร้างนักสื่อสารสุขภาวะที่รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ

“สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง” สร้างนักสื่อสารสุขภาวะที่รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ Read More »

2024: Integrating mindfulness in media literacy: A culture-responsive training programme for older Thai adults

Media literacy is a much-needed competency in the digitalised world, but it is still an unknown knowledge base for older Thai adults. This design-based research set out as an initiative to promote media literacy through an age friendly and culture-responsive training programme. The design process involved focus groups with key stakeholders and older adult ‘learners’

2024: Integrating mindfulness in media literacy: A culture-responsive training programme for older Thai adults Read More »

ชวนส่องเทรนด์ไลฟ์สไตล์ผู้สูงอายุในปี 2567: แม้วัยจะเพิ่มขึ้นแค่ไหน แต่หัวใจยังคงสดใสอยู่เสมอ

การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุทั่วโลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำหน้าอย่างก้าวกระโดด การดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัลจึงส่งผลต่อวิถีคิดและการดำรงชีวิตผู้สูงอายุในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ Thailand Creative & Design Center (TCDC) ได้วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุรุ่น “เจนเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์” (เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489-2507 หรือ อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในปี 2567 โดยได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มและการเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ “Trend 2024: REMADE ANEW” 1 และได้นำเสนอไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุในหลากหลายด้าน จึงขอเชิญชวนมาส่องเทรนด์ไปด้วยกัน การสร้าง content ต้องเน้นเอาใจกลุ่มผู้สูงวัย เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหลังเกษียณ ผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์จะมีเวลามากมายในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของยุคดิจิทัล ทำให้เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งในโลก รวมถึงผู้สูงอายุยังกลายเป็นผู้ทดลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งแบบทดลองใช้ฟรีและแบบจ่ายเงินมากกว่า 1.2 พันล้านครั้งต่อเดือน นี่เป็นเหตุผลที่หลาย ๆ แบรนด์ ตัดสินใจลงทุนในการโฆษณาผ่านแอปพลิเคชันหรือทำการสร้างเนื้อหาที่เน้นเอาใจกลุ่มผู้สูงอายุที่มีรสนิยมที่แตกต่างกันออกไปบนสื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก หรือ TikTok เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่อไป2 แอปพลิเคชัน TikTok เป็นที่ชื่นชอบของเจนเนอเรชันเบบี้บูมเมอร์ คนในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์มองว่าการพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ และมักจะใช้เวลาในการเล่นสื่อโซเชียลเป็นพิเศษในช่วงโควิด-19 เมื่อไม่สามารถพบปะเพื่อนได้โดยตรง กลุ่มนี้ยังมีความยินดีที่จะสมัครสมาชิกหรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใหม่เพื่อพบเพื่อนเก่า หรือเพื่องานด้านสังคมในโลกออนไลน์

ชวนส่องเทรนด์ไลฟ์สไตล์ผู้สูงอายุในปี 2567: แม้วัยจะเพิ่มขึ้นแค่ไหน แต่หัวใจยังคงสดใสอยู่เสมอ Read More »

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 3 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: สูงวัยใช้สื่ออย่างปลอดภัย… เข้าใจสิทธิผู้บริโภค”

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 3 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: สูงวัยใช้สื่ออย่างปลอดภัย… เข้าใจสิทธิผู้บริโภค” ณ โรงแรม เดอะสุโกศล กรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ในหัวข้อ “สูงวัยรู้ทันสื่อ: สูงวัยใช้สื่ออย่างปลอดภัย… เข้าใจสิทธิผู้บริโภค” มีผู้ร่วมเสวนาจากวิทยากร จำนวน 3 ท่าน คือ คุณศรินทร วานิชพันธุ์ – ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารแบ่งปันมุมมองในฐานะผู้สูงอายุ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ – สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ – สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการสนทนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ศิวปฐมชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันฯ

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 3 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: สูงวัยใช้สื่ออย่างปลอดภัย… เข้าใจสิทธิผู้บริโภค” Read More »

DOUYIN เครื่องมือใหม่ในการเข้าสังคมของผู้สูงอายุชาวจีน

ถ้าเราย้อนไปเมื่อหลายปีที่ผ่านมา โลกของเราได้มีแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Douyin  หรือในภาษาจีนเรียกว่า “抖音” (อ่านออกเสียงแบบภาษาจีนว่า “โต่วยิน”) หรือที่คนไทยเรารู้จักกันในชื่อ TikTok ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มคลิปวิดีทัศน์สั้นสัญชาติจีน เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2559 หรือกว่า 8 ปีมาแล้ว โดยมีจุดประสงค์คือ การผลิตและเผยแพร่วิดีทัศน์สั้น ๆ บนโลกออนไลน์ ผู้ใช้สามารถบันทึกคลิปวิดีทัศน์ที่มีความยาวตั้งแต่ 15 วินาที ไปจนถึง 10 นาที และยังสามารถอัปโหลดรูปภาพ ฯลฯ ได้อีกด้วย สามารถทำการลิปซิงค์ สร้างเอฟเฟกต์พิเศษและการตัดต่ออื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย และผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวิดีทัศน์ของผู้อื่นในแพลตฟอร์มได้อีกด้วย ซึ่งเดิมที Douyin นั้นเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียวิดีทัศน์ด้านดนตรีและวิดีทัศน์ที่สร้างสรรค์ ผู้ใช้สามารถเลือกเพลง ถ่ายวิดีทัศน์เพลง และสร้างผลงานของตนเองได้ผ่านซอฟต์แวร์นี้ หลังจากเปิดตัว Douyin ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่1 หลังจากเปิดตัวต่อสาธารณชนได้ไม่นาน Douyin ก็ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน และเมื่อดูสถิติจาก QuestMobile พบว่าช่วงอายุของผู้ใช้แพลตฟอร์ม Douyin ของชาวจีนนั้นเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า24 ปี

DOUYIN เครื่องมือใหม่ในการเข้าสังคมของผู้สูงอายุชาวจีน Read More »

ผู้หญิงสูงวัยมักก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันจริงหรือ? ภาพตัวแทนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้หญิงสูงวัยในสื่อไทย

บทนำ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน การส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเห็นได้จากการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลถูกกำหนดให้เป็นแนวทางวันผู้สูงอายุสากล (1 ตุลาคม) ในปี 2564 ที่ผ่านมา1 หน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยต่างให้ความสำคัญในประเด็นความรู้และทักษะด้านดิจิทัลของผู้สูงอายุ มีการนำมาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย และการจัดทำโครงการที่ปรากฏผลเป็นรูปธรรมออกมาอย่างหลากหลาย2 ผลจากการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้เกิดภาพตัวแทนและการอภิปรายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเป็นวงกว้าง เช่น ในสื่อออนไลน์แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มักสะท้อนทัศนคติแบบเหมารวมของผู้สูงวัย โดยมักมองผู้สูงวัยว่า ‘ไร้ความสามารถทางดิจิทัล’ เนื่องจากไม่ยอมเท่าทัน หรือไม่มีความสามารถเพียงพอในการปรับตัว และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีไม่เท่ากับกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงสูงวัย ซึ่งเป็นผลมาจากการกีดกันผู้หญิงออกจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตั้งแต่อดีต3 บทความนี้จะไขความกระจ่างเรื่องภาพตัวแทนและการกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ของผู้หญิงสูงวัย ดังที่ถูกนำเสนอในสื่อกระแสหลักของประเทศไทย โดยข้อมูลบางส่วนนำมาจากผลการวิจัยระดับปริญญาเอกของผู้เขียนเอง ทั้งนี้ ผู้เขียนจะเน้นไปที่ประเด็นการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในฐานะปัจจัยสำคัญของชีวิตผู้สูงวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง ผลการวิจัยยืนยันว่า แม้การส่งเสริมให้เกิดทักษะด้านดิจิทัลในกลุ่มผู้หญิงสูงวัยจะเป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ที่ดี แต่แนวทางของสื่อและวัฒนธรรมที่พยายามเกื้อหนุนนั้น กลับสร้างภาพจำในเชิงลบแก่ผู้หญิงสูงวัยเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวอาจเพิ่มแรงกดดันให้กับผู้สูงอายุโดยไม่ได้ตั้งใจ กล่าวคือ การกดดันให้ต้องก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ แม้ว่าบางคนอาจจะไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือดิจิทัลได้เลยก็ตาม ในท้ายสุด ผู้เขียนจะแสดงให้เห็นถึงผลที่ตามมาของภาพตัวแทนดังกล่าว และข้อเสนอแนะที่จะเป็นแนวทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีแก่ผู้สูงวัยต่อไป สมรรถนะทางดิจิทัล: สมรรถนะที่พบได้น้อยในกลุ่มผู้หญิงสูงวัย ความรู้ด้านดิจิทัลมักถูกมองว่า เป็นคุณลักษณะอันหาได้ยากในกลุ่มผู้หญิงสูงวัย โดยสื่อมักนำเสนอและมองว่าคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อข่าวปลอม การฉ้อโกง และอาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อการใช้ชีวิตคนกลุ่มนี้

ผู้หญิงสูงวัยมักก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันจริงหรือ? ภาพตัวแทนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้หญิงสูงวัยในสื่อไทย Read More »

ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าวหลักสูตร “สูงวัยรู้ทันสื่อ”

ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ บริษัท ทำมาปัน จำกัด (มูลนิธิคนตัวดี) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานแถลงข่าวหลักสูตร “สูงวัยรู้ทันสื่อ” เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อนำหลักสูตรที่ได้พัฒนาขึ้นบรรจุในหลักสูตรแกนกลางของโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วประเทศ พร้อมกำหนดนโยบาย/แนวทางขับเคลื่อนสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรู้เท่าทันสื่อต่อไป ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจากนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกล่าวเปิดตัวหลักสูตร และได้รับความอนุเคราะห์จาก รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ เป็นตัวแทนผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมงานแถลงข่าวในครั้งนี้

ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าวหลักสูตร “สูงวัยรู้ทันสื่อ” Read More »

Scroll to Top