Author name: admin

ภาพลักษณ์ผู้สูงวัยในสื่อชี้นำทัศนคติของสังคม

การนำเสนอภาพของวัยชราผ่านสื่อมีส่วนสำคัญในการกำหนดทัศนคติของสังคมต่อผู้สูงอายุ ทว่าการนำเสนอภาพผู้สูงอายุผ่านสื่อหลายต่อหลายครั้ง ยังขาดความตระหนักถึงผลกระทบต่อทัศนคติของคนรุ่นอื่น ๆ ที่มีต่อกลุ่มผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุในหลาย ๆ ประเทศ ได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ทางสังคมด้วยอย่างเลี่ยงมิได้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางสังคม หรือค่าใช้จ่ายในการอุดหนุนผู้สูงอายุจากภาครัฐ จนอาจทำให้คนกลุ่มอื่น ๆ มองผู้สูงอายุว่าเป็นภาระทางสังคม ยิ่งไปกว่านั้น ภาพลักษณ์ทางสังคมของผู้สูงอายุยังมีโอกาสผันแปรไปตามระดับความทันสมัยที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้กล่าวถึงความสำคัญของปรากฏการณ์นี้ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเชิงประชากรและการนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุในโฆษณา จากการวิเคราะห์ข้อมูลระยะเวลา 10 ปี พบว่า ในสังคมญี่ปุ่น ผู้สูงอายุมีบทบาทที่สำคัญเพิ่มขึ้น มีการนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุในลักษณะที่เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ดี การนำเสนอภาพของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในโฆษณาอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเชิงประชากรของสังคมญี่ปุ่น การโปรโมตผลิตภัณฑ์ด้วยภาพแทนผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นเช่นนี้ จึงอาจสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโภชนาการของผู้สูงอายุ ดังนั้น การสร้างความเข้าใจอันดีผ่านการสร้างโฆษณาที่สอดคล้องกับความเป็นจริง จะช่วยมิให้เกิดความเข้าใจที่ผิดต่อผู้สูงอายุในกลุ่มคนอื่น ๆ ในสังคมได้1 งานวิจัยล่าสุดเปรียบเทียบทัศนคติของกลุ่มคนต่าง ๆ ต่อผู้สูงอายุในเกาหลีและญี่ปุ่น พบว่า ในเชิงวัฒนธรรม ทั้งสองสังคมมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่นักเรียนในญี่ปุ่นมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุมากกว่านักเรียนในเกาหลี โดยนักเรียนในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายในญี่ปุ่นมีคะแนนเชิงทัศนคติสูงกว่านักเรียนในเกาหลี ทั้งนี้ อายุของนักเรียนมีส่วนทำให้ทัศนคติในหมู่นักเรียนของทั้งสองประเทศต่างกัน นักเรียนในชั้นมัธยมต้นมักมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุมากกว่านักเรียนมัธยมปลาย ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่า เมื่อคนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นตามวัย ทัศนคติของนักเรียนกลับกลายเป็นลบยิ่งขึ้น คำอธิบายอย่างหนึ่งได้แก่ นักเรียนมัธยมปลายมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุน้อย ดังนั้น การไม่มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกับผู้สูงอายุถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดทัศนคติเชิงลบ2 ส่วนการวิจัยในระดับนักศึกษาพบว่า มีความแตกต่างในภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุระหว่างนักศึกษาญี่ปุ่นและนักศึกษาเกาหลี จากการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มนักศึกษาญี่ปุ่น […]

ภาพลักษณ์ผู้สูงวัยในสื่อชี้นำทัศนคติของสังคม Read More »

You’ve got an email! การใช้อีเมลในกลุ่มผู้สูงวัย

อีเมลเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีความสำคัญในสังคมยุคใหม่ เนื่องจากการใช้อีเมลไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะกับคนรุ่นใหม่และคนที่มีอาชีพที่ใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้น การใช้อีเมลในกลุ่มผู้สูงอายุก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกันเนื่องจากเป็นประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้สูงอายุสามารถใช้อีเมลในการติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูง โดยเฉพาะถ้ามีคนที่อาศัยอยู่ห่างไกล อีเมลเป็นช่องทางที่สะดวกและคุ้มค่าในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รูปภาพ และอัพเดตชีวิตของตนเองให้คนอื่นได้รับรู้ ผู้สูงอายุสามารถใช้อีเมลเพื่อรับข้อมูลจากจดหมายข่าว ข่าวสาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของตนเอง เช่น การสมัครรับจดหมายข่าวหรือรับข้อมูลที่ทันสมัยจากองค์กรที่ตนเองสนใจ ผู้สูงอายุสามารถใช้อีเมลในการรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการนัดหมายทางการแพทย์หรือปฏิทินงาน ทำให้สามารถติดตามวันและเหตุการณ์สำคัญได้อย่างทันท่วงที นอกจากนั้น อีเมลยังสามารถช่วยจัดการทางการเงินได้ ผู้สูงอายุมักใช้อีเมลในการซื้อสินค้าออนไลน์และจัดการบัญชีธนาคาร รับแจ้งเตือนทางอีเมลเกี่ยวกับธุรกรรมและใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น ผู้สูงอายุยังอาจใช้อีเมลเพื่อเชื่อมโยงกับชุมชนออนไลน์ต่าง ๆ เช่น ชมรมหรือกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน ตลอดจนการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ผ่านทางออนไลน์ ผู้สูงอายุบางคนอาจใช้อีเมลเพื่อลงทะเบียนเรียนหลักสูตรออนไลน์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการศึกษา หรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้เสมอ ที่สำคัญ สามารถใช้อีเมลเพื่อรับข้อมูลด้านสุขภาพจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพ แชร์ข้อมูลทางการแพทย์ กระทั่งสื่อสารกับกลุ่มผู้ให้การช่วยเหลือเรื่องสุขภาพเฉพาะทาง สิ่งเหล่านี้สามารถจัดเก็บไว้ในอีเมล ถือเป็นการเก็บบันทึกเอกสารสำคัญในรูปแบบดิจิทัล เช่น เอกสารทางกฎหมาย กรมธรรม์ประกันภัย หรือเอกสารของหน่วยงานรัฐที่จำเป็นต้องใช้ในภายหลัง1, 2 อย่างไรก็ตาม มีข้อควรพิจารณาหลายประการเพื่อให้การใช้อีเมลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ได้แก่ ไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกคนจะคุ้นเคยกับเทคโนโลยี หรือบางคนอาจจะไม่ได้รับการฝึกอบรมให้ใช้อีเมลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงออนไลน์และละเมิดความเป็นส่วนตัวผ่านช่องทางอีเมล ดังนั้นการอบรมและการเสริมทักษะวิธีคิดให้เกิดความรอบคอบในการใช้เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนั้น

You’ve got an email! การใช้อีเมลในกลุ่มผู้สูงวัย Read More »

2566: การสร้างหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุไทยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม

นันทิยา ดวงภุมเมศ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ ธีรพงษ์ บุญรักษา วราภรณ์ สืบวงษ์สุวรรณ์ การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารที่คลาดเคลื่อนและผิดพลาดในสื่อต่าง ๆ และผลกระทบเชิงลบจากการบริโภคสื่อที่มีต่อสุขภาวะของผู้สูงอายุ ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทย และเป็นหลักสูตรที่สามารถสอนโดยผู้สูงอายุด้วยกันเอง เพื่อให้มีการนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายในทุกพื้นที่ของประเทศไทยบทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งแบ่งออกเป็นสามขั้นตอนได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเด็นเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้ 2) การมีส่วนร่วมในการปรับเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) การมีส่วนร่วมในปฏิบัติการการใช้หลักสูตร ซึ่งทำให้ได้ชุดความรู้จากประสบการณ์ของ “คนใน” ที่นำมาบูรณาการกับแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อและแนวคิดการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ในการออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุไทย ภายใต้ฐานคิด “รู้ทันตนเอง รู้ทันสื่อ” พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด “การมีส่วนร่วม”(Participatory practice) ของผู้สูงอายุ ได้แก่ การสร้างบรรยากาศที่มีความปลอดภัยทางวัฒนธรรม (Culturally safe atmosphere) การแสดงจุดยืนถึงสถานะที่เท่าเทียมกัน (Equal positioning) ของนักวิจัยและผู้สูงอายุ และความพร้อมของนักวิจัยที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับโครงสร้างของชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ นันทิยา ดวงภุมเมศ, ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์สิรินทร, พิบูลภานุวัธน์, ธีรพงษ์ บุญรักษา และวราภรณ์ สืบวงษ์สุวรรณ์. (2566).

2566: การสร้างหลักสูตรรู้เท่าทันสื่อสำหรับผู้สูงอายุไทยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม Read More »

เทคโนโลยีเพื่อชีวิต : ปัญญาประดิษฐ์กับการดูแลผู้สูงอายุในแดนมังกร

ปัจจุบันประเทศจีนถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นประเทศที่ไม่หยุดคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลากหลายด้าน เช่น เทคโนโลยีในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ เทคโนโลยีในด้านการแพทย์ รวมไปถึงเทคโนโลยีในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยให้ชีวิตของผู้คนนั้นมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้การส่งเสริมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีของจีนได้มีหลายภาคส่วนที่มีส่วนร่วมและสนับสนุน อุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศจีน เห็นได้จากการประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 18 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ระบุว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศจีนได้ก้าวกระโดดเป็นประวัติศาสตร์ ความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีได้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการพัฒนาเพื่อการเป็นผู้นำการพัฒนาสมัยใหม่ โดย Wu Zhaohui รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แนะนำการเปลี่ยนแปลงการพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศจีนไว้ทั้งหมด 4 ด้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตอบสนองการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน และความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้คนเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น1 เมื่อวันที่ 17 ถึง 19 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ประเทศจีนได้จัดงาน SIC Elderly Expo ขึ้นซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ คณะกรรมการทำงานผู้สูงอายุประจำมณฑลกวางตุ้ง กรมกิจการพลเรือนและสำนักงานกิจการพลเรือนกว่างโจว China Aging Industry Association China Poly Group Co., Ltd. และ Poly Development Holding

เทคโนโลยีเพื่อชีวิต : ปัญญาประดิษฐ์กับการดูแลผู้สูงอายุในแดนมังกร Read More »

สูงวัยยุคใหม่ใช้สื่อได้ ประยุกต์สื่อเป็น พร้อมต่อยอดความสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าและรายได้ให้แก่ตนเอง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่งการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกไปเสียแล้ว ทั้งในการติดตามข้อมูลข่าวสาร พูดคุยสร้างความสัมพันธ์ แบ่งปันประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่เว้นแม้เรื่องอุปโภคและบริโภค อย่างการซื้อและจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ รวมไปถึงวงการและอุตสาหกรรมมากมาย เช่น วงการแพทย์ การขนส่ง หรือการเงินการธนาคาร ซึ่งทำให้ทุกคนจำเป็นต้องปรับตัวในการใช้ชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่เป็นผู้ที่ไม่ได้เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่เพื่อความอยู่รอดในสังคมโลกและการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า จึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักและเข้าถึงการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลหรือสื่อออนไลน์มากขึ้น อย่างที่เราทราบกันดีว่าสื่อออนไลน์สำคัญต่อการใช้ชีวิตอย่างยิ่งในสมัยนี้ และผู้สูงอายุก็เป็นหนึ่งในช่วงวัยที่บริโภคสื่อออนไลน์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสถิติการใช้สื่อออนไลน์ในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นผู้สูงวัยในแต่ละปีมีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก แต่จากการสำรวจจากงานวิจัยและตามรายงานของหน่วยงานต่าง ๆ หรือจากการติดตามข่าวสาร จะพบว่าผู้สูงวัยส่วนใหญ่นั้นยังขาดทักษะในการใช้สื่อ รวมทั้งทักษะการนำไปประยุกต์และการนำไปต่อยอดสร้างเนื้อหาที่สามารถช่วยเพิ่มการเข้าถึง และเพื่อสร้างรายได้ทางออนไลน์ในอนาคต เช่นเดียวกับการรู้เท่าทันสื่อที่เป็นสถานการณ์ที่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญ จนมีหลายภาคส่วนพยายามที่จะสร้างเครื่องมือป้องกันภัยจากสื่อ โดยเพิ่มพูนทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้สูงอายุจากการสร้างหลักสูตรอบรมทั้งแบบ on-site และแบบ online ซึ่งจากการร่วมมือกันจากทุก ๆ คน ส่งผลให้การขับเคลื่อนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อในผู้สูงอายุนั้นเป็นไปในทิศทางที่ดีและเห็นผลอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยแห่งพฤฒพลัง (Active Aging) ซึ่งหมายถึง ผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะสมบูรณ์ มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีความคล่องแคล่วว่องไว รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเอง และไม่เพียงแต่ดูแลตนเองได้แต่ยังสามารถช่วยเหลือผู้อื่น แนะนำและส่งต่อความรู้ ความสามารถให้กับผู้อื่นได้อีกด้วย1 เพราะฉะนั้นแล้ว ผู้สูงอายุยุคใหม่จึงไม่เพียงแต่จะต้องรู้ เข้าใจ และเท่าทันสื่อเพียงเท่านั้น

สูงวัยยุคใหม่ใช้สื่อได้ ประยุกต์สื่อเป็น พร้อมต่อยอดความสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าและรายได้ให้แก่ตนเอง Read More »

2023: When fake news comes with translation: A study of perception toward coronavirus-related news translation into Thai

Narongdej Phanthaphoommee Theeraphong Boonrugsa Singhanat Nomnian This paper aims to investigate how coronavirus-related fake news as a result of translation is perceived in the Thai context. Using the framework of truth criteria to guide the online questionnaire and focus group, the researchers gathered the different perspectives of three age groups: Group 1 aged 19–38, Group

2023: When fake news comes with translation: A study of perception toward coronavirus-related news translation into Thai Read More »

เมื่อวัยเก๋าต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล หลักสูตรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับผู้สูงอายุจึงเกิดขึ้น

ผู้สูงอายุทุกคนล้วนแต่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งจากตัวผู้สูงอายุเองและจากสภาพแวดล้อมในสังคม ซึ่งบางครั้งกลายเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดภัยอันตรายต่อตัวผู้สูงอายุที่สังคมควรให้ตะหนักถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้สูงอายุต้องใช้ชีวิตท่ามกลางการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารที่มักจะคลาดเคลื่อนด้วยเหตุปัจจัยที่หลากหลาย หรือบางครั้งข้อมูลข่าวสารที่ได้รับก็เกิดข้อผิดพลาดได้ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาทางสังคมที่เราก็จะเห็นหรือได้ฟังจากข่าว หรือประสบการณ์คนรอบข้างอยู่บ่อยครั้ง การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารที่คลาดเคลื่อนและผิดพลาดในสื่อต่าง ๆ อาจทำให้ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบเชิงลบจากการใช้สื่อหลายประการ เช่น ถูกหลอกลวง เอารัดเอาเปรียบ หลงกลมิจฉาชีพที่แฝงเข้ามา หลงเชื่อโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทองที่เก็บออมไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต และบางครั้งเพิ่มปัญหาทางสุขภาพให้ซับซ้อนหรือรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องเป็นความเครียด วิตกกังวล หรือเกิดภาวะต่าง ๆ 1 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังอาจกลายเป็นกลุ่มเครือข่ายที่เป็นต้นตอของการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ ไม่ว่าจะจากการแชร์ภาพ ส่งต่อข่าวสาร และข้อมูลโดยไม่ได้ตรวจสอบหรือกลั่นกรองความถูกต้องให้ดีเสียก่อน รวมไปถึงการนำข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นไปใช้จนเกิดความเสียหาย2 ผลกระทบเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของการใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทันสถานการณ์ ทั้งนี้การเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับกลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นทางสังคมที่ถือว่าสำคัญไม่น้อยไปกว่าประเด็นทางสังคมด้านอื่นๆ เลย ไม่ว่าจะการเมือง เศรษฐกิจ หรือการดูแลสุขภาพ จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ส่งผลให้ องค์กร สถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ และพยายามที่จะหาทางเสริมภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งราวกับเป็นการติดอาวุธให้กับผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับสภาวะที่สื่อเข้าถึงตัวอยู่ตลอดเวลา โดยส่วนใหญ่จะมีการจัดทำหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันเทคโนโลยี การใช้สื่อหรือเทคโนโลยี รวมไปถึงการนำสื่อไปสร้างสรรค์ในด้านอื่น ๆ หรือแม้แต่การสร้างรายได้จากสื่อก็ด้วย ซึ่งจะขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่ามีหลักสูตรใดบ้างที่ถูกสร้างมาเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย หลักสูตร “วัยเพชรรู้ทันสื่อ” จัดทำโดยกลุ่มวิจัยการสื่อสารเพื่อพัฒนา ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อวัยเก๋าต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล หลักสูตรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับผู้สูงอายุจึงเกิดขึ้น Read More »

ทำไมเราถึงไม่ชอบฟังเพลงใหม่เมื่อมีอายุมากขึ้น

เพลงยุคของเราดีที่สุดทั้งที่มันผ่านพ้นไปนานหลายสมัย และยังคงรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ยิน หากลองพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วยตนเอง ลองเปรียบเทียบเพลงใหม่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นใหม่รอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ยินมันตามพื้นที่สาธารณะ หรือจากผู้คนในครอบครัวที่มีวัยแตกต่างกัน เรามักจะรู้สึกว่าเหตุใดพวกเขาถึงฟังเพลงเหล่านั้นเข้าไปได้ หรืออาจจะไม่เข้าหูเอาเสียเลย อะไรที่ทำให้รู้สึกว่าเพลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ดีเหมือนกับเพลงที่อยู่ในความทรงจำหรือยุคสมัยก่อน บทความนี้จะชวนคิดให้เราตั้งคำถามว่าทำไมเราถึงรู้สึกแบบนั้น และความคิดเหล่านี้มันสะท้อนความคิดของเราอย่างไร หรือหากเราสามารถก้าวพ้นข้ามผ่านบทเพลงที่เคยรู้สึกว่าดีในความทรงจำเหล่านั้นได้อย่างไร การเปรียบเทียบบางสิ่งจากข้อมูลดั้งเดิมที่อาจจะเรียกได้ว่าเรามีพื้นฐาน “รสนิยม” ที่ไม่เหมือนกัน นำไปสู่การที่ไม่อยากเสียเวลาไปฟังและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติในมนุษย์ทุกคน ยิ่งมีอายุมากขึ้น เวลาที่จะให้ความสนใจกับความบันเทิงหรือใช้เวลาไปกับการฟังเพลงใหม่มีน้อยลง อีกทั้งบทเพลงในยุคสมัยของเราอาจจะเพียงพอแล้วสำหรับใช้สะท้อนรสนิยมหรือตัวตน ที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ในชีวิตดุจเพลงประกอบภาพยนตร์ในชีวิตจริงได้อีกด้วย ไม่แปลกที่หลายครั้งเรามักจะชอบเพลงเก่าที่เราคุ้นชินมากกว่าจะเป็นเพลงใหม่ที่เกิดขึ้น รสนิยมที่แตกต่าง แน่นอนว่ารสนิยมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นรูปธรรมทางประวัติศาสตร์ในชีวิตมนุษย์ทุกคน และสามารถเชื่อมร้อยผู้คนให้มีความเชื่อมโยงกันได้จากการบริโภคผ่านกาลเวลาและสถานที่ร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าช่วงวัยคือขอบเขตสมมุติผ่านประสบการณ์ร่วม ที่สามารถก่อรูปกลายเป็นรสนิยมของผู้คนในยุคสมัยหนึ่งได้ แต่เมื่อเวลาและสถานที่แตกต่างกัน บริบทในชีวิตที่ไม่เหมือนกัน รสนิยมที่เกิดขึ้นใหม่อาจจะไม่สอดคล้องกับรสนิยมเดิมที่เราเคยมีและมักอ้างอิงจากประสบการณ์ในช่วงวัยของเรา อย่างไรก็ตาม หากกล่าวด้วยภาษานักสังคมวิทยาอย่างบูดิเยอร์1 ชีวิตมนุษย์นั้นไม่ได้ประกอบขึ้นจากทุนทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ความเป็นตัวตนที่ก่อรูปขึ้นจากประสบการณ์และความทรงจำที่แตกต่างกันไปนั้น กลับกลายเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมแบบที่เราเรียกกันว่า “รสนิยม” หากรสนิยมคือสิ่งซึ่งแสดงออกผ่านการบริโภค การบริโภคจึงเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนตัวตนและความคิดของมนุษย์ในห้วงเวลาหนึ่งได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังเพลงที่เราเคยมีเวลามากพอที่จะอยู่ด้วยกันกับสิ่งนี้ในช่วงชีวิตหนึ่ง และค่อย ๆ ห่างหายไปจากหน้าที่การงานและความสำคัญอื่น ๆ ในชีวิตที่มีมากกว่าการฟังเพลง บทเพลงที่เกิดขึ้นใหม่จึงไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่ยุ่งเหยิง หรือไม่มีเวลามากพอที่จะมานั่งฟังเพลงใหม่ ๆ ได้ ซึ่งเรามักเทียบกับประสบการณ์ของช่วงชีวิตที่ผ่านมาของเรา แน่นอนว่ามันอาจจะไม่เหมือนที่เคยฟังมา แต่จริงหรือที่มันไม่เหมือนกัน บทเพลงสมัยนิยมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จวบจนถึงปัจจุบันเรียกได้ว่ามีโครงสร้างหรือแก่นแกนที่แทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือทุกบทเพลงต้องประกอบไปด้วยท่อนที่มีความแตกต่างกัน

ทำไมเราถึงไม่ชอบฟังเพลงใหม่เมื่อมีอายุมากขึ้น Read More »

สถานการณ์การใช้สื่อของผู้สูงวัยชาวจีนในฐานะ “คนเก่า ใน โลกใบใหม่”

อย่างที่พวกเราทราบกันดี ตอนนี้โลกของเราได้เข้าสู่ยุคออนไลน์เต็มตัว จากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดดนั้น ทำให้ผู้สูงอายุ หรืออาจจะเรียกได้ว่า “คนเก่า” จำนวนไม่น้อยเลยที่กำลังตาม “โลกใบใหม่” ไม่ทัน โลกที่ว่านั้นคือ โลกที่เต็มไปด้วยความล้ำสมัยของเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ว่าจะจากอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ หรือแม้แต่อุปกรณ์ทันสมัยอย่าง สมาร์ทโฟน หากทว่าภัยร้ายทางเทคโนโลยีก็เข้ามาพร้อมกันด้วย ซึ่งกลโกงเหล่านั้นได้เจาะจงพุ่งเป้ามาที่กลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ทั้งนี้ การมีผู้สูงวัยในประเทศเป็นจำนวนมากนั้นไม่เพียงแค่เป็นการที่มีประชากรกลุ่มนี้ล้นประเทศเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดวิกฤตหรือสถานการณ์บางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม เช่น สังคม เศรษฐกิจ หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวันของประชากรทุกคน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนตั้งรับกับสถานการณ์ใด ๆ ก็ตามที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อทำให้ผลกระทบที่จะตามมานั้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมไปถึงการเตรียมพร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ซึ่ง “ประเทศจีน” ก็เช่นกัน จำนวนผู้สูงอายุในประเทศจีนมีเพิ่มมากขึ้นจนเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของสังคมผู้สูงวัยเป็นที่เรียบร้อย  โดยอ้างอิงจากการเก็บข้อมูลของ The National Bureau of Statistics ในปี 2021 ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีในประเทศจีนมีจำนวนมากกว่า 267 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 18.9% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และจากข้อมูลในปี 2022 ประชากรจีนที่อายุมากกว่า 60

สถานการณ์การใช้สื่อของผู้สูงวัยชาวจีนในฐานะ “คนเก่า ใน โลกใบใหม่” Read More »

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต”

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ในหัวข้อ “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” มีผู้ร่วมเสวนาจากวิทยากร จำนวน 3 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ต.หญิง ดร. พนมพร พุ่มจันทร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณรวิภา เอกสิริเลิศ ประธานชมรมจิตอาสา สมาคมผู้สูงอายุอำเภอสามพราน คุณนณพร ทศแก้ว พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์แพทย์ผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ดำเนินการสนทนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ศิวปฐมชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันฯ

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” Read More »

Scroll to Top