Author name: admin

เมื่อวัยเก๋าต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล หลักสูตรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับผู้สูงอายุจึงเกิดขึ้น

ผู้สูงอายุทุกคนล้วนแต่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งจากตัวผู้สูงอายุเองและจากสภาพแวดล้อมในสังคม ซึ่งบางครั้งกลายเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดภัยอันตรายต่อตัวผู้สูงอายุที่สังคมควรให้ตะหนักถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้สูงอายุต้องใช้ชีวิตท่ามกลางการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารที่มักจะคลาดเคลื่อนด้วยเหตุปัจจัยที่หลากหลาย หรือบางครั้งข้อมูลข่าวสารที่ได้รับก็เกิดข้อผิดพลาดได้ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาทางสังคมที่เราก็จะเห็นหรือได้ฟังจากข่าว หรือประสบการณ์คนรอบข้างอยู่บ่อยครั้ง การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารที่คลาดเคลื่อนและผิดพลาดในสื่อต่าง ๆ อาจทำให้ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบเชิงลบจากการใช้สื่อหลายประการ เช่น ถูกหลอกลวง เอารัดเอาเปรียบ หลงกลมิจฉาชีพที่แฝงเข้ามา หลงเชื่อโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทองที่เก็บออมไว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต และบางครั้งเพิ่มปัญหาทางสุขภาพให้ซับซ้อนหรือรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องเป็นความเครียด วิตกกังวล หรือเกิดภาวะต่าง ๆ 1 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังอาจกลายเป็นกลุ่มเครือข่ายที่เป็นต้นตอของการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ ไม่ว่าจะจากการแชร์ภาพ ส่งต่อข่าวสาร และข้อมูลโดยไม่ได้ตรวจสอบหรือกลั่นกรองความถูกต้องให้ดีเสียก่อน รวมไปถึงการนำข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นไปใช้จนเกิดความเสียหาย2 ผลกระทบเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของการใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทันสถานการณ์ ทั้งนี้การเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับกลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นทางสังคมที่ถือว่าสำคัญไม่น้อยไปกว่าประเด็นทางสังคมด้านอื่นๆ เลย ไม่ว่าจะการเมือง เศรษฐกิจ หรือการดูแลสุขภาพ จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ส่งผลให้ องค์กร สถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ และพยายามที่จะหาทางเสริมภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งราวกับเป็นการติดอาวุธให้กับผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับสภาวะที่สื่อเข้าถึงตัวอยู่ตลอดเวลา โดยส่วนใหญ่จะมีการจัดทำหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันเทคโนโลยี การใช้สื่อหรือเทคโนโลยี รวมไปถึงการนำสื่อไปสร้างสรรค์ในด้านอื่น ๆ หรือแม้แต่การสร้างรายได้จากสื่อก็ด้วย ซึ่งจะขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่ามีหลักสูตรใดบ้างที่ถูกสร้างมาเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย หลักสูตร “วัยเพชรรู้ทันสื่อ” จัดทำโดยกลุ่มวิจัยการสื่อสารเพื่อพัฒนา ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล […]

เมื่อวัยเก๋าต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล หลักสูตรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับผู้สูงอายุจึงเกิดขึ้น Read More »

ทำไมเราถึงไม่ชอบฟังเพลงใหม่เมื่อมีอายุมากขึ้น

เพลงยุคของเราดีที่สุดทั้งที่มันผ่านพ้นไปนานหลายสมัย และยังคงรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ยิน หากลองพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วยตนเอง ลองเปรียบเทียบเพลงใหม่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นใหม่รอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ยินมันตามพื้นที่สาธารณะ หรือจากผู้คนในครอบครัวที่มีวัยแตกต่างกัน เรามักจะรู้สึกว่าเหตุใดพวกเขาถึงฟังเพลงเหล่านั้นเข้าไปได้ หรืออาจจะไม่เข้าหูเอาเสียเลย อะไรที่ทำให้รู้สึกว่าเพลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ดีเหมือนกับเพลงที่อยู่ในความทรงจำหรือยุคสมัยก่อน บทความนี้จะชวนคิดให้เราตั้งคำถามว่าทำไมเราถึงรู้สึกแบบนั้น และความคิดเหล่านี้มันสะท้อนความคิดของเราอย่างไร หรือหากเราสามารถก้าวพ้นข้ามผ่านบทเพลงที่เคยรู้สึกว่าดีในความทรงจำเหล่านั้นได้อย่างไร การเปรียบเทียบบางสิ่งจากข้อมูลดั้งเดิมที่อาจจะเรียกได้ว่าเรามีพื้นฐาน “รสนิยม” ที่ไม่เหมือนกัน นำไปสู่การที่ไม่อยากเสียเวลาไปฟังและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติในมนุษย์ทุกคน ยิ่งมีอายุมากขึ้น เวลาที่จะให้ความสนใจกับความบันเทิงหรือใช้เวลาไปกับการฟังเพลงใหม่มีน้อยลง อีกทั้งบทเพลงในยุคสมัยของเราอาจจะเพียงพอแล้วสำหรับใช้สะท้อนรสนิยมหรือตัวตน ที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ในชีวิตดุจเพลงประกอบภาพยนตร์ในชีวิตจริงได้อีกด้วย ไม่แปลกที่หลายครั้งเรามักจะชอบเพลงเก่าที่เราคุ้นชินมากกว่าจะเป็นเพลงใหม่ที่เกิดขึ้น รสนิยมที่แตกต่าง แน่นอนว่ารสนิยมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นรูปธรรมทางประวัติศาสตร์ในชีวิตมนุษย์ทุกคน และสามารถเชื่อมร้อยผู้คนให้มีความเชื่อมโยงกันได้จากการบริโภคผ่านกาลเวลาและสถานที่ร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าช่วงวัยคือขอบเขตสมมุติผ่านประสบการณ์ร่วม ที่สามารถก่อรูปกลายเป็นรสนิยมของผู้คนในยุคสมัยหนึ่งได้ แต่เมื่อเวลาและสถานที่แตกต่างกัน บริบทในชีวิตที่ไม่เหมือนกัน รสนิยมที่เกิดขึ้นใหม่อาจจะไม่สอดคล้องกับรสนิยมเดิมที่เราเคยมีและมักอ้างอิงจากประสบการณ์ในช่วงวัยของเรา อย่างไรก็ตาม หากกล่าวด้วยภาษานักสังคมวิทยาอย่างบูดิเยอร์1 ชีวิตมนุษย์นั้นไม่ได้ประกอบขึ้นจากทุนทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ความเป็นตัวตนที่ก่อรูปขึ้นจากประสบการณ์และความทรงจำที่แตกต่างกันไปนั้น กลับกลายเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมแบบที่เราเรียกกันว่า “รสนิยม” หากรสนิยมคือสิ่งซึ่งแสดงออกผ่านการบริโภค การบริโภคจึงเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนตัวตนและความคิดของมนุษย์ในห้วงเวลาหนึ่งได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังเพลงที่เราเคยมีเวลามากพอที่จะอยู่ด้วยกันกับสิ่งนี้ในช่วงชีวิตหนึ่ง และค่อย ๆ ห่างหายไปจากหน้าที่การงานและความสำคัญอื่น ๆ ในชีวิตที่มีมากกว่าการฟังเพลง บทเพลงที่เกิดขึ้นใหม่จึงไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่ยุ่งเหยิง หรือไม่มีเวลามากพอที่จะมานั่งฟังเพลงใหม่ ๆ ได้ ซึ่งเรามักเทียบกับประสบการณ์ของช่วงชีวิตที่ผ่านมาของเรา แน่นอนว่ามันอาจจะไม่เหมือนที่เคยฟังมา แต่จริงหรือที่มันไม่เหมือนกัน บทเพลงสมัยนิยมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 จวบจนถึงปัจจุบันเรียกได้ว่ามีโครงสร้างหรือแก่นแกนที่แทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือทุกบทเพลงต้องประกอบไปด้วยท่อนที่มีความแตกต่างกัน

ทำไมเราถึงไม่ชอบฟังเพลงใหม่เมื่อมีอายุมากขึ้น Read More »

สถานการณ์การใช้สื่อของผู้สูงวัยชาวจีนในฐานะ “คนเก่า ใน โลกใบใหม่”

อย่างที่พวกเราทราบกันดี ตอนนี้โลกของเราได้เข้าสู่ยุคออนไลน์เต็มตัว จากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดดนั้น ทำให้ผู้สูงอายุ หรืออาจจะเรียกได้ว่า “คนเก่า” จำนวนไม่น้อยเลยที่กำลังตาม “โลกใบใหม่” ไม่ทัน โลกที่ว่านั้นคือ โลกที่เต็มไปด้วยความล้ำสมัยของเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ว่าจะจากอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ หรือแม้แต่อุปกรณ์ทันสมัยอย่าง สมาร์ทโฟน หากทว่าภัยร้ายทางเทคโนโลยีก็เข้ามาพร้อมกันด้วย ซึ่งกลโกงเหล่านั้นได้เจาะจงพุ่งเป้ามาที่กลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ทั้งนี้ การมีผู้สูงวัยในประเทศเป็นจำนวนมากนั้นไม่เพียงแค่เป็นการที่มีประชากรกลุ่มนี้ล้นประเทศเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดวิกฤตหรือสถานการณ์บางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม เช่น สังคม เศรษฐกิจ หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวันของประชากรทุกคน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนตั้งรับกับสถานการณ์ใด ๆ ก็ตามที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อทำให้ผลกระทบที่จะตามมานั้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมไปถึงการเตรียมพร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ซึ่ง “ประเทศจีน” ก็เช่นกัน จำนวนผู้สูงอายุในประเทศจีนมีเพิ่มมากขึ้นจนเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของสังคมผู้สูงวัยเป็นที่เรียบร้อย  โดยอ้างอิงจากการเก็บข้อมูลของ The National Bureau of Statistics ในปี 2021 ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีในประเทศจีนมีจำนวนมากกว่า 267 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 18.9% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และจากข้อมูลในปี 2022 ประชากรจีนที่อายุมากกว่า 60

สถานการณ์การใช้สื่อของผู้สูงวัยชาวจีนในฐานะ “คนเก่า ใน โลกใบใหม่” Read More »

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต”

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ในหัวข้อ “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” มีผู้ร่วมเสวนาจากวิทยากร จำนวน 3 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ต.หญิง ดร. พนมพร พุ่มจันทร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณรวิภา เอกสิริเลิศ ประธานชมรมจิตอาสา สมาคมผู้สูงอายุอำเภอสามพราน คุณนณพร ทศแก้ว พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์แพทย์ผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ดำเนินการสนทนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนิดา ศิวปฐมชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สถาบันฯ

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 2 “สูงวัยรู้ทันสื่อ: ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิต” Read More »

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 1 “ผู้สูงวัย…การเท่าทันสื่อและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม”

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 1 “ผู้สูงวัย…การเท่าทันสื่อและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม” ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ในหัวข้อ “ผู้สูงวัย…การเท่าทันสื่อและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม” มีผู้ร่วมเสวนาจากวิทยากร จำนวน 3 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย ตัวแทนนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คุณจงดี เศรษฐอำนวย ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลไม้ และอาหารตำบลศาลายา ตัวแทนผู้สูงอายุ

เวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 1 “ผู้สูงวัย…การเท่าทันสื่อและข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม” Read More »

การจัดอบรมวิทยากรผู้สอนหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ

การจัดอบรมวิทยากรผู้สอนหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ร่วมกับบริษัททำมาปัน (กลุ่มคนตัวดี) และกรมกิจการผู้สูงอายุ ในวันที่ 29-30 สิงหาคม 2566

การจัดอบรมวิทยากรผู้สอนหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ Read More »

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลด่านช้าง

กิจกรรมลงพื้นที่ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุเพื่อทดลองใช้ (ร่าง) หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ครั้ง 3 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี วันที่ 11 สิงหาคม 2566 มีผู้สูงอายุเข้าร่วม 37 คน

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลด่านช้าง Read More »

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลไทรโยค

กิจกรรมลงพื้นที่ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุเพื่อทดลองใช้ (ร่าง) หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ครั้ง 2 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลไทรโยค อ.ไทรโยค จ กาญจนบุรี วันที่ 7 กรกฎาคม มีผู้สูงอายุเข้าร่วม 29 คน

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลไทรโยค Read More »

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุพลูตาหลวง

กิจกรรมลงพื้นที่ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุเพื่อทดลองใช้ (ร่าง) หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุพลูตาหลวง อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี วันที่ 28 มิถุนายน 2566 มีผู้สูงอายุเข้าร่วม 26 คน

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุพลูตาหลวง Read More »

การสื่อสารและการดูแลผู้สูงวัยต่างชาติในประเทศไทย

การท่องเที่ยวระยะยาวระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่าการย้ายถิ่นฐานเพื่อการเกษียณอายุระหว่างประเทศ เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศแถบตะวันตกมาหลายทศวรรษ และค่อย ๆ แพร่กระจายไปทั่วโลก รัฐบาลไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2544 โดยเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ คำว่า “การพำนักระยะยาว” หมายถึง การอยู่ในประเทศเกิน 30 วัน และไม่ใช่เพื่อท่องเที่ยวหรือทำงาน โดยท้ายที่สุดผู้ที่เข้ามาพำนักก็จะต้องกลับไปยังประเทศบ้านเกิด1 ประเทศไทยเป็นสถานที่ดึงดูดผู้เกษียณอายุชาวต่างชาติซึ่งต้องการใช้เวลาช่วงพักผ่อนระยะยาวมานานแล้ว โดยรัฐบาลได้ออกวีซ่าเกษียณอายุเกือบ 8 หมื่นใบ ใน พ.ศ. 2561 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จาก พ.ศ. 2557 ผลวิจัยของธนาคารกสิกรไทยประเมินว่าใน พ.ศ. 2559 มีชาวต่างชาติอายุมากกว่า 50 ปีที่ถือวีซ่าพำนักระยะยาวจำนวน 68,300 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา2 เหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยเป็นที่นิยม ก็เพราะที่อยู่อาศัยมีราคาย่อมเยาว์ อัตราค่าครองชีพต่ำ และเป็นเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพที่มีมาตรฐานระดับโลก เราอาจจะสังเกตเห็นปรากฏการณ์หนึ่งซึ่งเชื่อมโยงระหว่างการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยกับการดูแลผู้เกษียณอายุชาวต่างชาติ เนื่องจากคนกลุ่มนี้เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องประสบกับปัญหาสุขภาพในวัยชรา จนจำเป็นต้องขอใช้บริการการดูแลทางการแพทย์ในประเทศไทย เหตุนี้เองรัฐจึงได้จัดโครงการดูแลสุขภาพระยะยาวขึ้นในปี พ.ศ.

การสื่อสารและการดูแลผู้สูงวัยต่างชาติในประเทศไทย Read More »

Scroll to Top