Author name: admin

การสื่อสารกับผู้สูงวัย: ความเข้าใจและไม่ตัดสิน

การสื่อสารในการดูแลผู้สูงอายุมักมีความท้าทายเนื่องจากความลำบากในเชิงกายภาพหลาย ๆ ด้าน เช่น ความบกพร่องทางการได้ยิน โรคบางประเภทในสมอง ทำให้ความจำและการมองเห็นลดลง หรืออาจเกิดจากสภาวะบางอย่างที่เกี่ยวกับการเสื่อมทางระบบประสาท เช่น ภาวะสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน หรือแม้แต่การบาดเจ็บในลำคอหรือปาก ก็อาจส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารด้วยเช่นกัน ปัญหาสุขภาพเกี่ยวข้องกับอายุล้วนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้สูงวัยในครอบครัว หรือผู้สูงวัยกับหน่วยงานช่วยเหลือภาครัฐอื่น ๆ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดต่อกับผู้สูงอายุเป็นครั้งคราว ภาวะเรื้อรังต่าง ๆ ของผู้สูงวัย (ภาวะสมองเสื่อม การสูญเสียการได้ยิน หรือผลกระทบของยา เป็นต้น) อาจทำให้การสนทนาไม่ลื่นไหล หรือเกิดความเข้าใจข้อมูลที่รับฟังลำบากมากยิ่งขึ้น ในช่วงวัยที่สมรรถนะด้านร่างกายเสื่อมถอยลงเช่นนี้ คนวัยอื่น ๆ ที่ปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุอาจเกิดความรู้สึกรำคาญใจหรือเห็นว่าการสื่อสารกับผู้สูงวัยไร้ประโยชน์ได้ การสื่อสารที่สำเร็จได้ผลดี ย่อมอาศัยประสาทสัมผัสที่ชัดเจน ดังนั้น ความบกพร่องทางการมองเห็นหรือการได้ยินอันเนื่องมาจากอายุ อาจทำให้วิธีพูด การทำความเข้าใจ การอ่าน หรือการเขียน เป็นไปได้ยากหรือกระทั่งสื่อสารผิดพลาดได้ ยกตัวอย่าง ปัญหาการได้ยินอาจทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้ว่าว่ามีคนกำลังพูดอยู่ด้วย หรือพูดแล้วเข้าใจได้ยากขึ้น จนทำให้ติดตามบทสนทนาได้ไม่ถี่ถ้วน ปัญหาด้านสายตาอาจทำให้อ่านข้อความในสื่อประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ในโทรศัพท์มือถือได้ลำบาก หรือแม้กระทั่งการอ่านข้อความที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอย่างเช่นฉลากยาเป็นต้น1 มีข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศสิงคโปร์ด้านการสื่อสารกับผู้สูงวัยให้ได้ประสิทธิภาพที่น่าสนใจ และเหมาะสมกับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะของความเป็นคนเอเชียเหมือนกัน โดยมีหลักการสื่อสารกับผู้สูงอายุ 2 ข้อที่สำคัญ2 การสื่อสารเป็นถนนสองสาย […]

การสื่อสารกับผู้สูงวัย: ความเข้าใจและไม่ตัดสิน Read More »

ปัจจัยด้านจิตใจและแรงผลักดันกับการออกแบบเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุ

นอกจากการออกแบบเทคโนโลยีของเครื่องมือสื่อสารเพื่อผู้สูงอายุในเชิงวัตถุ เช่น การออกแบบเครื่องมือสื่อสาร การใช้ฟอนต์ การใช้สี เป็นต้น ในบทความนี้ จะอธิบายถึงปัจจัยด้านจิตใจและแรงผลักดันของผู้สูงอายุเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีหรือไม่ด้วย เมื่อพิจารณากันโดยทั่วไปแล้ว เราจะพบว่า คนรุ่นใหม่มักจะผสานรวมเทคโนโลยีเข้ากับชีวิตของตนได้อย่างไม่มีปัญหา ราบรื่น และสนุกไปกับเทคโนโลยี เพราะเติบโตขึ้นมาท่ามกลางเทคโนโลยีและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี จนเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนเสริมกิจวัตรประจำวันโดยธรรมชาติ ทว่าผู้สูงอายุมักใช้เทคโนโลยีต่างออกไป บางแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์อาจถูกผู้สูงอายุมองข้าม มีบางกรณีที่เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์พยายามสร้างเกมแบบง่าย ๆ เพื่อเรียกความสนใจของผู้สูงอายุ แต่การเล่นเกมก็มักจะกระตุ้นความสนใจในกลุ่มผู้สูงวัยตอนต้น (pre-ageing) เสียเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น มักไม่ได้ผลกับผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ดังนั้นการเชิญชวนให้ผู้สูงอายุเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับสื่อออนไลน์ จึงจำเป็นต้องนึกถึงการออกแบบเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการใช้งานเป็นสำคัญ1 เมื่อเราออกแบบอย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่า รูปแบบการใช้งานต้องเรียบง่ายและการเริ่มต้นใช้งานอุปกรณ์นั้น ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อนำพาผู้สูงอายุให้ทราบเกี่ยวกับฟังก์ชันทั้งหลายที่อาจไม่คุ้นเคย (เช่น แอปพลิเคชันไลน์ ที่มักมีฟังก์ชันใหม่เพิ่มมาเสมอตามการอัพเดทเวอร์ชัน) ดังนั้น การคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ใช้อายุน้อยที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี อาจผสานการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เข้ากับชีวิตประจำวันของตนได้อย่างเต็มใจ แต่ผู้ใช้ที่อยู่ในวัยสูงอายุจำนวนมากยังอาจลังเลที่จะถลำลึกลงไปในเทคโนโลยีในแบบเดียวกับคนรุ่นใหม่ การสร้างแรงจูงใจหรือการออกแบบที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกดีต่อเทคโนโลยีจึงควรเป็นเป้าหมายหลักในการออกแบบใด ๆ เพื่อผู้สูงวัยด้วย2 มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่นำเสนอประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีของผู้สูงวัยเพื่อมุ่งพัฒนาออกแบบระบบหุ่นยนต์บริการที่ใช้งานง่ายและเป็นที่ยอมรับมาใช้สำหรับผู้สูงอายุ  โดยคณะนักวิจัยได้ออกแบบที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งได้ทดลองใช้ตัวแบบนั้นในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริง ผ่านตัวแบบบริการหุ่นยนต์หลากหลาย (multi-robot services) ซึ่งคาดว่ามีความจำเป็นในการช่วยเหลือผู้สูงวัยในอนาคตอันใกล้

ปัจจัยด้านจิตใจและแรงผลักดันกับการออกแบบเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุ Read More »

การออกแบบเทคโนโลยีของเครื่องมือสื่อสารเพื่อผู้สูงอายุ

ตามรายงานของสหประชาชาติ เรื่องการคาดการณ์ประชากรโลกนั้น จำนวนผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าภายใน ค.ศ. 2050 หรือจาก 962 ล้านคนทั่วโลกเป็น 2.1 พันล้านคน และอาจจะเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2100 (หรือประมาณ 3.1 พันล้านคน) ที่สำคัญคือกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีทั่วโลก อยู่ในระยะเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่าประชากรในกลุ่มอื่น ๆ1 นัยอย่างหนึ่งที่อาจมองได้จากการคาดการณ์ข้างต้นนี้ คือ การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในอนาคตอาจต้องประสบพบเจอกับเทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่ากระบวนการชราภาพจะแตกต่างกันไป แต่ทุกคนต่างต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานไม่มากก็น้อย และไม่ใช่ทุกคนที่จะชราภาพลงได้อย่างที่ตนเองคาดหวัง เมื่ออายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสรีระย่อมเกิดขึ้น และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสก็อาจจะลดน้อยถอยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าคนจำนวนมากที่อายุเกิน 60 อาจได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่กับเทคโนโลยีในวัยผู้ใหญ่มาเกือบทั้งชีวิตแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงทางสรีระอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลในเชิงเทคโนโลยีการช่วยเหลือ โดยปกติแล้ว ตั้งแต่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป เลนส์สายตาของคนเราจะเริ่มแข็งตัว ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “สายตายาวตามอายุ” ซึ่งเป็นเรื่องปกติของอายุ จนทำให้การอ่านข้อความขนาดเล็กและระยะใกล้ทำได้ยากขึ้น การมองเห็นสีสันต่าง ๆ ก็ยังลดลงตามอายุ การแยกแยะความแตกต่างระหว่างสีที่มีเฉดคล้ายกันจะทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฉดสีฟ้าดูเหมือนจะจางลง การได้ยินเสียงของผู้สูงวัยก็ยังลดลงมิต่างกัน และส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี

การออกแบบเทคโนโลยีของเครื่องมือสื่อสารเพื่อผู้สูงอายุ Read More »

ผู้สูงวัยกับละครโทรทัศน์

ในบทความที่แล้วเราได้พูดถึงพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์และการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุกันไปแล้ว ในคราวนี้จะขอเจาะลงไปที่เนื้อหาบางรายการที่ผู้สูงอายุนิยมรับชมเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากละครโทรทัศน์ หากไม่นับรายการเกมโชว์และวาไรตี้ที่ครองใจกลุ่ม สว. (สูงวัย) มาได้อย่างเหนียวแน่น ละครโทรทัศน์ถือว่าเป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ ที่ยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องอยู่เสมอมาในหมู่ผู้สูงอายุ ลองนึกภาพว่าคุณเป็นผู้สูงอายุซึ่งอยู่ติดบ้านและไม่มีกิจกรรมอื่น การเปิดโทรทัศน์แก้เหงาเพื่อไม่ให้บ้านเงียบเป็นสิ่งที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็นละครโทรทัศน์ทั้งเก่าและใหม่จะสลับสับเปลี่ยนกันออกอากาศแทบจะตลอดทั้งวัน เช่นช่องที่ฉายละครโทรทัศน์เป็นหลักอย่างช่อง 3 และช่อง 7 จะมีช่วงเวลาของละครโทรทัศน์ตั้งแต่ละครเก่ารีรันรอบเช้า ละครเก่ารีรันรอบบ่าย ละครเย็น ละครหลังข่าว และละครรอบดึก แม้จะมีรายการปกิณกะบันเทิงและข่าวมาคั่นกลางเป็นระยะ แต่ละครโทรทัศน์แทบจะหมุนเวียนอยู่ตลอดทั้งวันเรียกว่าเปิดโทรทัศน์มาตอนไหนก็ต้องได้ดูละคร จริงอยู่ว่าช่องอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีจุดขายด้านละครพยายามผลิตรายการวาไรตี้มาเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ชมที่ไม่ชอบดูละคร เช่น ช่องวัน ช่องเวิร์คพอยท์ หรือช่องไทยรัฐทีวีที่เน้นรายการเกมโชว์และข่าว แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ละครโทรทัศน์ก็ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้สูงวัย โดยจะถือว่าเป็นกลุ่มผู้ชมหลักของละครโทรทัศน์ในปัจจุบันนี้เลยก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าละครทุกประเภทจะโดนใจกลุ่มสว. ละครที่มีเนื้อหาหมิ่นเหม่ศีลธรรมหรือมีความรุนแรงมากเกินไปอาจไม่ถูกจริตผู้สูงอายุบางกลุ่ม รวมถึงละครวัยรุ่น หรือบู๊แอคชั่นล้างผลาญอาจจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก ละครที่สร้างความสุข เสียงหัวเราะและร้อยยิ้ม หรือเรียกได้ว่าดูได้ทุกเพศทุกวัยจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เช่นละครตลกเบาสมอง ละครรักที่เรียกว่าโรแมนติกคอมมาดี้ ละครแนวดราม่าที่เน้นความสะเทือนอารมณ์ที่มักเรียกกันว่าละครน้ำเน่า หรือว่าจะเป็นละครน้ำดีแนวครอบครัวที่เรียกว่าละครฟีลกู้ดเพราะดูแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ ฯลฯ เหล่านี้เป็นตัวเลือกที่ผู้สูงอายุมักจะเลือกรับชม1 สิ่งสำคัญคือโครงเรื่องที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และด้วยความที่คนกลุ่มนี้เติบโตมากับการชมการแสดงอย่างโขนหรือลิเกก็จะทำให้ติดอยู่ในขนบของการวางตัวละครแบบมีตัวพระ ตัวนาง ยักษ์/ตัวร้าย และลิง/ตัวตลก เป็นต้น

ผู้สูงวัยกับละครโทรทัศน์ Read More »

ผู้สูงวัยกับการดูโทรทัศน์

ผู้สูงอายุชอบดูอะไร คนไทยในอดีตนิยมเสพความบันเทิงที่มาในลักษณะของการบอกเล่าเรื่องราวทางมุขปาฐะหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อกันมา นิทานพื้นบ้านหรือพุทธชาดกก็นับเป็นความบันเทิงชนิดหนึ่งที่มาร่วมกับการไปฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัด กล่าวได้ว่าวัฒนธรรมการหาความบันเทิงจากเรื่องเล่านั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทย (และแทบทุกสังคม) มาช้านาน เมื่อกาลเวลาผ่านไป เรื่องเล่าต่าง ๆ นั้นก็พัฒนารูปแบบการเล่าและการถ่ายทอดให้สนุกสนานเร้าใจมากยิ่งขึ้นและออกมาในรูปแบบของการแสดง นาฏกรรม การฟ้อนรำ ฯลฯ การรับชมการแสดงและหาความบันเทิงของผู้สูงอายุในอดีตก็คือการได้ออกไปชมมหรสพต่าง ๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เคยทำเมื่อสมัยครั้งยังหนุ่มยังสาวอย่างเช่นการได้ออกไปดูลิเก หมอลำ ลำตัด ตามงานวัดหรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมการชมมหรสพเหล่านี้ไม่ใช่เพียงแค่การออกไปเพื่อชมการแสดงหรือดื่มด่ำกับเนื้อหาสาระเหมือนอย่างที่คนรุ่นใหม่ทำเวลาออกไปโรงภาพยนตร์​ แต่การไปชมมหรสพในอดีตนั้นหมายถึงการออกไปทำกิจกรรมสันทนาการและพบปะผู้คนในชุมชน การได้นั่งล้อมวงพูดคุยกับญาติสนิทมิตรสหาย กินอาหารที่ขายในงานวัด และมีลูกเล็กเด็กแดงวิ่งเล่นไปมาเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นแทบจะพร้อม ๆ กับการชมการแสดงบนเวที กิจกรรมเหล่านี้หล่อหลอมพฤติกรรมการรับชมสื่อบันเทิงของคนในรุ่นก่อนให้มีลักษณะไม่หยุดนิ่งและพร้อมที่จะทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกันแบบที่เรียกว่า multi-tasking ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์ของผู้สูงอายุหรืออาจกล่าวได้ว่าคนไทยโดยรวมด้วยเช่นกัน1 อันที่จริงแล้วพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์นั้นก็คล้ายคลึงกันทั้งโลกดังที่ Marshall McLuhan ได้กล่าวไว้ว่าโทรทัศน์เป็นสื่อเย็น (cold medium) เนื่องจากมีช่องว่างให้ผู้รับสารเข้าไปมีส่วนร่วมค่อนข้างสูงและมีเนื้อหาข่าวสารที่เข้มข้นน้อยกว่า ส่วน Raymond Williams เรียกการชมโทรทัศน์ว่ามีลักษณะของการไหลไป (flow) เนื่องจากการรับชมโทรทัศน์นั้นผู้ชมไม่ได้นั่งดูเพียงรายการใดรายการหนึ่งเท่านั้นแต่เป็นการนั่งดูรายการหลาย ๆ ประเภทที่ไหลต่อเนื่องไปตามผังรายการซึ่งผู้ชมที่เคยชินกับการชมโทรทัศน์ก็เรียนรู้ที่จะปรับตัวต่อการรับสารที่หลากหลาย ผู้ชมสามารถปรับตัวได้กับเนื้อหาที่ทั้งเกี่ยวและไม่เกี่ยวข้องกันที่ถูกนำเสนอต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ผู้ชมโทรทัศน์ไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องนั่งอยู่กับที่แต่ทำกิจกรรมอื่นไปพร้อมกันได้ ไม่ว่าจะทำงานบ้าน ทานอาหาร หรือเดินเข้าเดินออกห้องดูทีวี เรียกว่าเป็นการรับชมแบบผลุบเข้าผลุบออก (sporadic viewer) ต่างจากการชมภาพยนตร์ในโรงที่ผู้ชมถูกบังคับด้วยสถานที่ให้นั่งนิ่ง

ผู้สูงวัยกับการดูโทรทัศน์ Read More »

ผู้สูงวัยกับประโยชน์จากการใช้ไลน์

ในยุคของเทคโนโลยีล้ำสมัยเช่นนี้ กิจวัตรพื้นฐานของผู้สูงวัยมีความสะดวกสบายกว่ามากขึ้นกว่าเดิม แม้ผู้สูงวัยบางคนอาจรู้สึกวิตกกังวลเมื่อต้องรับมือกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ แต่ในความเป็นจริง มีหลายวิธีที่จะทำให้เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายและสนุกมากขึ้น ตั้งแต่การสื่อสารกับคนที่เรารักไปจนถึงการเล่นเกม แอปพลิเคชันที่เหมาะกับผู้สูงวัยมีหลายประเภท ตัวอย่าง เช่น แอปออกกำลังกาย แอปค้นหาแหล่งข้อมูลจำเพาะที่ผู้สูงอายุจำเป็นต้องใช้ หรือแม้แต่แอปฝึกสมอง เป็นต้น อย่างไรก็ดี การติดต่อสื่อสารบนโทรศัพท์มือถือ คือเรื่องพื้นฐานสำหรับผู้สูงวัยที่ต้องการตามติดเทคโนโลยี หนึ่งในแอปที่เป็นที่นิยมในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทย คือไลน์ (LINE) ซึ่งเป็นแอปที่ใช้สื่อสาร มีลักษณะพิเศษของการส่งสติกเกอร์ หรือข้อความสั้น ๆ เหมาะแก่การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ และถูกใจผู้สูงวัยเป็นอย่างดี มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศไต้หวันที่ทดสอบการใช้แอปพลิเคชันไลน์ในสมาร์ตโฟนของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อแอปสื่อสารอย่างไลน์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในประเด็นโครงสร้างรูปแบบการใช้งาน รองลงมาคือ ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งาน และความเต็มใจที่จะใช้งาน ตามลำดับ ข้อมูลข้างต้นสามารถตีความได้ว่า (1) ผู้สูงอายุมองว่า ไลน์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีสำหรับตนเอง (2) มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน (3) สะดวกที่จะใช้ในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง    อย่างไรก็ตาม ผู้สูงวัยยังเห็นว่า จำเป็นต้องมีการช่วยเหลือเพิ่มเติมและอธิบายฟังก์ชันการใช้งานบางอย่าง เช่น ตัวเลือก (options) ที่อยู่ในการตั้งค่าต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันมากในการสร้าง “ความเต็มใจที่จะใช้งาน”

ผู้สูงวัยกับประโยชน์จากการใช้ไลน์ Read More »

การดูโทรทัศน์ของผู้สูงวัยสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมอย่างไร

ปกติการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการดูโทรทัศน์มักจะมุ่งไปที่เด็กและเยาวชน ส่วนวิจัยในกลุ่มผู้สูงวัยนั้น มักจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม บทความที่ตีพิมพ์ใน Scientific Report ในปี 2019 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอน Daisy Fancour และ Andrew Steptoe ได้หยิบยกประเด็นผลกระทบจากการดูทีวีที่มีต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมาวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลจาก English Longitudinal Study of Aging ที่ติดตามศึกษาซ้ำ (panel study) คนอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ให้ข้อมูลเป็นฐาน ทั้งนี้ นักวิจัยได้นำข้อมูลจากการสำรวจระดับชาติของ English Longitudinal Study of Aging ในระยะที่ 4 ที่เก็บรวบรวมระหว่างปี 2008-2009 มาเป็นฐาน จากนั้นนำข้อมูลจากในการสำรวจระยะที่ 7 ในช่วงปี 2014-2015 หรืออีก 6 ปีต่อมา ซีงศึกษาซ้ำในคนเดียวกัน จำนวน 3,590 คนที่ไม่เคยได้เป็นโรคความจำเสื่อม มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดูทีวีของคนกลุ่มนี้1 ผลการศึกษาในประเด็นเวลาที่ผู้สูงวัยใช้ในการดูทีวีในแต่ละวัน

การดูโทรทัศน์ของผู้สูงวัยสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมอย่างไร Read More »

ผู้สูงวัยกับการใช้อินสตาแกรม

อินสตาแกรม (Instagram) เป็นแอปพลิเคชันแชร์รูปภาพบนมือถือที่ให้ผู้ใช้แอปสามารถถ่ายภาพ และใส่ฟิลเตอร์ (ตัวกรองภาพ) เพื่อแชร์ลงบนหน้าบัญชีใช้งานของตนเองได้ อินสตาแกรมมีลักษณะคล้ายกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ ที่เปิดโอกาสให้นำเสนอตัวตนของผู้เป็นเจ้าของบัญชีใช้งานในโลกออนไลน์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด อินสตาแกรมมีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านคนต่อเดือน และมีผู้แชร์รูปภาพมากกว่า 40 พันล้านภาพ โดยมียอดกดให้หัวใจ (เหมือนกับการกดไลก์ในเฟซบุ๊ก) เฉลี่ย 3.5 พันล้านครั้งต่อวันสำหรับ มีรูปภาพไม่น้อยกว่า 80 ล้านรูปภาพได้รับการแชร์บนแพลตฟอร์มทุกวัน คนที่มีอายุในช่วง 18–29 ปี เข้าใช้งานมากกว่าครึ่งหนึ่งของบัญชีผู้ใช้งานทั้งหมด1 วิธีการทำงานของอินสตรแกรมขึ้นอยู่กับการปรับแต่งเนื้อหาหรือการคัดสรรภาพให้ผู้ใช้งานเห็นตามระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ (algorithms) สิ่งนี้เองเป็นตัวเปิดโอกาสหรือจำกัดมิให้ผู้ใช้งานมีการโต้ตอบกันข้ามความสนใจ กล่าวคือ ระบบจะจัดสรรรูปภาพในลักษณะเดียวกับรูปภาพที่เราอัพโหลดหรือกดชมภาพเป็นประจำเท่านั้น ความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์จึงอาจถูกกำหนดโดยบทบาทการใช้งานของเจ้าของบัญชีเอง ไม่ว่าจะเป็นการ “ติดตาม” “แสดงความคิดเห็น” หรือติด “แฮชแท็ก” สิ่งเหล่านี้ทำให้เจ้าของบัญชีสามารถสร้างการรับรู้ หรือรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมได้แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล แม้ว่าหลายองค์กรจะบอกว่า อินสตาแกรมเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจก่อเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตมากที่สุดหากมีการใช้อย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่จากผลวิจัยชิ้นหนึ่งกลับแย้งว่า กลุ่มผู้ที่เข้าใช้อินสตาแกรมบ่อยครั้ง มิได้มีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือมีผลเสียกับจิตใจแต่อย่างใด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากหลักการที่ว่าการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อโพสต์รูปภาพ (มากกว่าการใช้โพสต์ข้อความ) จะช่วยคลายความเหงา เพิ่มความสุข และความพึงพอใจในชีวิตของผู้ใช้งานได้ เพราะรูปภาพมักเข้าใจง่ายกว่าข้อความ สร้างความเพลิดเพลินจากสีสันและลักษณะของภาพที่ลงโพสต์ได้ สาเหตุที่อิสตาแกรมช่วยบรรเทาสภาพจิตใจอันไม่พึงประสงค์ และกระตุ้นให้เกิดสภาวะคิดบวกได้นั้น

ผู้สูงวัยกับการใช้อินสตาแกรม Read More »

สื่อเก่ากับสื่อดิจิทัล: บทบาทที่ต่างกันสำหรับผู้สูงวัย

สื่อดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและได้รับความสนใจจากคนหลายรุ่น ในปัจจุบัน สื่อใหม่เหล่านี้เริ่มมีเนื้อหาโยงเข้าสู่ความสนใจหรือตามลักษณะนิสัยของผู้สูงอายุมากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุจำนวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือดิจิทัลและขาดความรู้ด้านการใช้สื่อที่เพียงพอเพื่อเปิดโลกการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ พัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น หรือขยายโอกาสการมีส่วนร่วมในสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราในฐานะพลเมืองของสังคมจะหันมาให้ความสนใจในการอภิปรายถึงสื่อเก่าและสื่อดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นด้านโอกาส หรือความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลในด้านต่าง ๆ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต อาจไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ต หรือเคยใช้อินเทอร์เน็ตแต่หยุดการใช้งานไปด้วยเหตุผลบางประการ หลายคนต่างเข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางและเครือข่ายเชื่อมโยงคนให้ใกล้ชิดกัน โลกอินเตอร์เน็ตประกอบไปด้วยสื่อที่หลากหลาย มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และกิจกรรมต่าง ๆ ให้เลือกสรร เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ การค้นหาข้อมูล และการบริการจากภาครัฐและเอกชนที่พัฒนาไปอยู่บนรูปแบบแพลตฟอร์มมือถือ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงวัยมีความจำเป็นในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมากขึ้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่า สื่อเก่า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ยังมีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่าสื่อใหม่อย่างสื่อดิจิทัลหรือไม่ มีรายงานฉบับหนึ่งของ Eurobarometer ในสหภาพยุโรป พบว่า การดูโทรทัศน์ยังคงเป็นกิจกรรมด้านสื่อมวลชนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป โดยมีพลเมืองของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อายุ 15 ปีขึ้นไป) มากถึงร้อยละ 81 ยังติดตามรายการทางโทรทัศน์ทุกวันใน ค.ศ. 2017 สัดส่วนนี้ยังคงเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งสูงที่สุด (ร้อยละ 92) ในหมู่ชาวยุโรปที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ในขณะที่ในแคนาดา

สื่อเก่ากับสื่อดิจิทัล: บทบาทที่ต่างกันสำหรับผู้สูงวัย Read More »

Scroll to Top