Author name: admin

คณะวิทยากรโครงการนักสื่อสารสุขภาวะวัยเพชร มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสโมสรโรตารีเมืองวิเศษไชยชาญ และเครือข่ายภาคี จัดอบรมผู้สูงอายุตำบลจำปาหล่อให้รู้ทันสื่อออนไลน์

https://angthongnews.blogspot.com/2023/01/blog-post.html

คณะวิทยากรโครงการนักสื่อสารสุขภาวะวัยเพชร มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสโมสรโรตารีเมืองวิเศษไชยชาญ และเครือข่ายภาคี จัดอบรมผู้สูงอายุตำบลจำปาหล่อให้รู้ทันสื่อออนไลน์ Read More »

ความเชื่อในเรื่องโชคลางในช่วงสถานการณ์โควิด-19: ผลกระทบต่อผู้สูงวัย

ความเชื่อในเรื่องโชคลางนั้นแสดงออกในสังคมมนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ มาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตัวเลข สี วันพิเศษ เหตุการณ์พิเศษ หรือสัตว์พิเศษบางชนิดมักถูกมนุษย์มองว่าชั่วร้าย บางครั้งผู้คนมีความคิดที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์มากนักเพราะยึดถือความเชื่อที่โยงกับศาสนา กล่าวคือความเชื่อในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ยังคงอยู่กับมนุษย์แม้จะมีความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการมากแล้ว1 มีการศึกษาพบว่า ความเชื่อโชคลางอาจเป็นอันตรายต่อการดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยของการป้องกันโควิด-19 เนื่องจากบางคนเชื่อว่าโรคนี้จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หากบูชาสิ่งของที่ตนคิดว่าศักดิ์สิทธิ์2  นอกจากนี้ ยามที่คนเราไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ก็มักหันไปพึ่งวิธีแก้ปัญหาด้วยความเชื่อโชคลาง เนื่องจากหวาดระแวงผู้อื่นและสังคมภายนอก จึงใช้ชีวิตอย่างตื่นตัวตลอดเวลา สภาวะที่คล้ายกับสภาวะการตื่นตัวของผู้คนในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจีน ซึ่งแม้ว่าสื่อหลายแขนงได้นำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้คนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโควิด-19 ในหลายแง่มุมอย่างเด่นชัด รวมถึงจากประเด็นทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการสร้างภูมิคุ้มกันหลังติดเชื้อ หรือการจัดหาวัคซีน3 กระนั้นเอง ความเชื่อในเรื่องโชคลางจึงทำให้ผู้คนพลอยหวาดกลัว หรือในบางกรณีก็ไม่เชื่อว่าจะมีการระบาดมาถึงตนเพราะมีของเครื่องลางเพื่อปกป้องตนเองดีแล้ว กระนั้นก็ดี ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายในช่วงการระบาด ส่งผลต่อด้านจิตวิทยาจนนำมาซึ่งทฤษฎีสมคมคิด (conspiracy) หรือความเชื่อโชคลางกับความตายในกลุ่มเปราะบาง เช่น ชุมชนสูงวัย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนเชิงนโยบายที่ดี เพื่อป้องกันการตัดสินใจที่ผิดพลาดด้านสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อคนหมู่มากได้4  โดยในเบลเยียมและสหรัฐอเมริกา มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อที่งมงาย อำนาจที่ควบคุม และความรู้สึกเสี่ยงต่อโควิด-19 โดยพบว่า ในเบลเยียมนั้น ความเชื่อโชคลางไม่เด่นชัด และบุคคลมีระดับของอำนาจในการควบคุมจิตใจที่สูง แต่ในอเมริกานั้น ความเชื่อเรื่องโชคลางสูง แต่มีอำนาจในการควบคุมในจิตใจซึ่งสัมพันธ์ความเชื่อโชคลางในระดับที่ผกผัน จนทำให้เกิดความรู้สึกที่รุนแรงมากขึ้นว่ามีความเสี่ยงต่อโควิด-19 ซึ่งอาจอธิบายได้จากความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น

ความเชื่อในเรื่องโชคลางในช่วงสถานการณ์โควิด-19: ผลกระทบต่อผู้สูงวัย Read More »

ผู้สูงวัยชอปปิงออนไลน์

ในสังคมสูงวัย จะมีผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าในร้านค้าอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของสินค้าบางประเภท ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดการณ์ว่าผู้บริโภคที่เริ่มซื้อสินค้าและบริการออนไลน์เนื่องจากข้อจำกัดของ โควิด-19 จะยังคงซื้อสินค้าออนไลน์ต่อไปในอนาคตในระดับหนึ่ง ความสนใจในอีคอมเมิร์ซในโลกหลังการระบาดจะยังคงมีอยู่เพราะผู้สูงวัยมีประสบการณ์ในการซื้อของในช่วงการระบาดที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะผู้สูงอายุได้ลงทุนเวลาเพื่อทำความเข้าใจหลักการของการชอปปิงออนไลน์ และลงทุนเงินในการซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยีการสื่อสารไว้แล้ว ผู้สูงวัยกลุ่มนี้จึงมีความมั่นใจมากขึ้นกับเทคโนโลยีดิจิทัล ตระหนักถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อของออนไลน์ นอกจากนี้ บริการสุขภาพทางไกลออนไลน์จะมีแนวโน้มที่จะเติบโตเป็นพิเศษเนื่องจากลูกค้าที่มีอายุมากขึ้น ต่างจากคนหนุ่มสาวที่อาจพึ่งพาบริการสุขภาพทางไกลน้อยลงหลังจากการระบาดโควิด-19 จางหายไป ผู้สูงอายุใช้บริการเหล่านี้เพราะความสะดวกและจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหมู่ผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น นอกจากความสะดวกสบายแล้ว บริการเหล่านี้ยังมีราคาถูกกว่าการไปพบแพทย์ด้วยตนเอง ในประเทศที่บริการสุขภาพทางไกลเข้าถึงได้น้อย ราคาบริการสุขภาพทางไกลออนไลน์ที่ถูกกว่า ย่อมทำให้บริการเหล่านี้ดึงดูดใจผู้สูงอายุ มีการคาดการณ์ว่าการตรวจสุขภาพทางไกลจะกลายเป็นมาตรฐานของบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ1 จากการศึกษาในไทยเกี่ยวกับการใช้งานบริการออนไลน์เพื่อซื้อสินค้า2 พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยผู้สูงอายุคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา เพราะปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้อย่างแพร่หลาย แต่ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับความไว้วางใจในตลาดออนไลน์ กระนั้นก็ดี แพลตฟอร์มออนไลน์ได้ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน และยังช่วยให้ผู้สูงอายุแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ไม่ว่าจะข้อมูลเกี่ยวกับการขายและโปรโมชั่นออนไลน์ ซึ่งมีผลโน้มน้าวให้ทำการซื้อออนไลน์เป็นครั้งแรก สำหรับข้อแตกต่างในการเปิดรับข้อมูลออนไลน์กับออฟไลน์ พบว่า ผู้ที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ไม่เชื่อถือแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้า เนื่องจากตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ยาก และไม่แน่ใจว่าจะตรวจสอบชื่อเสียงของแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างไร ดังนั้นผู้สูงอายุกลุ่มนี้จึงคิดว่า ซื้อสินค้าออฟไลน์มีความเสี่ยงน้อยกว่า การวิจัยเรื่องนี้ยังพบด้วยว่า การตอบรับของผู้ขายยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะผู้ซื้อที่ไม่ได้ใช้สื่อออนไลน์เป็นประจำจะไม่ทราบวิธีการซื้อสินค้าออนไลน์อย่างละเอียด หากซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม เช่น Lazada หรือ Shopee ผู้สูงอายุกลุ่มนี้จะไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร และไม่สามารถติดต่อผู้ขายทางโทรศัพท์ได้ การซื้อสินค้าออนไลน์จึงหมายความว่า สินค้าไม่สามารถทดสอบเพื่อประกันคุณภาพก่อนตัดสินใจซื้อได้ ซึ่งทำให้ยากต่อการตัดสินใจ กระนั้นก็ดี หลายแบรนด์ไม่ได้เจาะกลุ่มลูกค้าออนไลน์ที่เป็นผู้สูงอายุเพราะทำได้ยาก

ผู้สูงวัยชอปปิงออนไลน์ Read More »

TikTok โลกแห่งความบันเทิงรูปแบบใหม่ที่สูงวัยไทยชอบแชร์

นาทีนี้คงไม่มีใครแทบจะไม่รู้จัก แพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า TikTok อีกแล้ว เพราะเหล่าคนดัง คนในวงการบันเทิง คนรอบ ๆ ตัว หรือแม้แต่ผู้สูงอายุในครอบครัวของเราเองนั้นก็พากันสร้างคอนเทนต์ และแชร์คลิปวิดีโอจากแอป TikTok ผ่านหูผ่านตากันอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นคลิปร้องเพลง เต้นรำ คลิปตลกขบขัน คลิปสัตว์โลกน่ารัก หรืออาจจะเป็นคลิปที่สอดแทรกสาระไปพร้อมกับความบันเทิง เช่น สอนภาษา สอนทำอาหาร หรือแม้แต่การให้ความรู้ด้านสุขภาพสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดย TikTok นั้นเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการลงคลิปวิดีโอสั้น ๆ และเหมาะกับผู้ที่ต้องการสร้างสรรค์และรับชมผลงานผ่านสาระความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการสร้างและพัฒนาโดยบริษัทสัญชาติจีน ByteDance เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2559 ซึ่งในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา TikTok ก็ได้กลายเป็นแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นหลายเท่าตัวเลยทีเดียว ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน (Monthly Active User) ทะลุ 1,000 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในอาเซียนรวมถึงประเทศไทยนั้น มียอดผู้ใช้เติบโตกว่า 85% ต่อปี รวมยอดผู้ใช้งาน 240 ล้านคนต่อเดือน ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลการตลาดอย่าง Statista ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลยอดบัญชีผู้ใช้งาน

TikTok โลกแห่งความบันเทิงรูปแบบใหม่ที่สูงวัยไทยชอบแชร์ Read More »

อคติต่อช่วงวัย กำแพงขวางกั้นการสื่อสารระหว่างคนต่างวัย

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราจะได้ยินคำว่า “วยาคติ” หรือ อคติต่อช่วงวัย (Ageism) กันบ่อยครั้งมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงผู้สูงอายุ คำว่ามนุษย์ลุง มนุษย์ป้า เชื่องช้า low- tech รวมถึงวลีที่แพร่กระจายในโลกออนไลน์ในหลากหลายประเทศอย่าง OK Boomer ที่คนรุ่นใหม่ใช้เสียดสีคนรุ่นเบบี้บูมเบอร์ว่ามีความคิดที่โบราณล้าสมัย หรือใช้ตัดบทการสนทนากับคนรุ่นก่อนให้หยุดแสดงความเห็นที่ล้าสมัยเสียที ในขณะที่คำพูดในทำนองที่ว่า ก็แค่ความคิดแบบเด็ก ๆ  เด็กเมื่อวานซืนจะไปรู้อะไร ที่มักได้ยินผู้ใหญ่พูดถึงคนที่อ่อนวัยกว่าก็ยังมีอยู่ตลอด เมื่อก่อนเราอาจจะไม่เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่การที่คำพูดพวกนี้ถูกขยายในช่องทางออนไลน์ได้รวดเร็ว กว้างขวาง และตอกย้ำอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิด อคติ (Prejudice) การเหมารวม (Stereotype) และการเลือกปฏิบัติ (Discrimination)  ต่อคนที่มีช่วงอายุต่างไปจากตนเอง  ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นการเหยียดอายุ เหยียดวัย ที่ในทางวิชาการ เรียกว่า วยาคติ1 นั่นเอง เมื่อปี 2564 “Global report on ageism” ที่จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ชี้ให้เห็นว่า อคติต่อช่วงวัย เป็นปรากฎการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก  โดยพบว่า 34 จาก

อคติต่อช่วงวัย กำแพงขวางกั้นการสื่อสารระหว่างคนต่างวัย Read More »

สิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อการสื่อสารกับผู้สูงวัยเมื่อไปพบแพทย์

คนทุกช่วงวัยควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติให้ต้องกังวล แต่สำหรับผู้สูงวัยนั้น การพบปะแพทย์เพื่อรายงานผลสุขภาพมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะแพทย์จะได้มีโอกาสติดตามสุขภาพของผู้ป่วยและเปรียบเทียบสุขภาพกับการนัดครั้งก่อนหน้า ทั้งนี้ ผู้สูงอายุมักมีโอกาสที่จะพบปัญหาด้านสุขภาพทั้งเรื้อรังและซับซ้อนมากกว่ากลุ่มคนวัยอื่น แพทย์ที่พบเป็นประจำย่อมรู้จักสุขภาพของผู้สูงวัยเป็นอย่างดี ตลอดจนความเป็นอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ฉะนั้น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้สูงวัยย่อมเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง การสื่อสารกับผู้สูงวัยให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันมาก เพราะส่งผลต่อการพบปะในแต่ละครั้ง ทำให้ผู้สูงวัยสบายใจ และผู้ดูแลรอบข้างผู้สูงวัยจะได้มีความมั่นใจในการดูแลมากขึ้น1 มีการรายงานจากซีกโลกตะวันตกว่า ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มักพบแพทย์โดยเฉลี่ย 8 ครั้งต่อปี ถือเป็นการปฏิสัมพันธ์ที่เลี่ยงไม่ได้ระหว่างผู้รับบริการสุขภาพกับบุคลากรทางการแพทย์2 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้น ทั้งความถี่ในการพบแพทย์และการปฏิสัมพันธ์ โดยปกติการสื่อสารระหว่างบุคคลอาจมีอุปสรรคจากความชราภาพของแต่ละคนตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียประสาทสัมผัส ความจำลดลง การประมวลผลข้อมูลช้าลง พลังทางกายของตนเองลดลง หรือการแยกจากครอบครัวและเพื่อนฝูง3 ช่วงเวลาเหล่านี้เองเป็นช่วงเวลาเดียวกับเวลาที่ผู้ป่วยสูงวัยจำเป็นต้องสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์มากที่สุด เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลจึงควรต้องพัฒนาความเข้าใจและวิธีการในการปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุอยู่เสมอ กระบวนการสื่อสารโดยทั่วไปย่อมมีความซับซ้อนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่การสื่อสารอาจมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกตามอายุของคู่การสื่อสาร ปัญหาประการหนึ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญเมื่อต้องรับมือกับผู้ป่วยสูงวัยคือ ผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า นอกจากนั้น ประสบการณ์ชีวิตของผู้สูงวัยที่หลากหลาย รวมถึงภูมิหลังทางวัฒนธรรมก็ย่อมมีผลต่อการรับรู้ความเจ็บป่วยของตนเอง มีผลต่อความเต็มใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ หรือมีผลต่อความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ให้บริการด้านการแพทย์4 นักวิชาการต่างประเทศได้ให้ข้อแนะนำในการสื่อสารกับผู้สูงวัยที่ประสงค์จะเข้ามาติดต่อใช้บริการด้านการแพทย์ ซึ่งบุคลากรต่าง ๆ ควรได้รับการฝึกฝนและรับทราบ รวมไปถึงบุคคลในครอบครัวที่แวดล้อมผู้สูงวัยด้วย โดยสรุปเป็นข้อพึงปฏิบัติได้ดังนี้5 1) ควรกำหนดเวลานัดหมายผู้สูงวัยในช่วงเช้า เพราะผู้สูงอายุมักจะรู้สึกเหนื่อยล้าในตอนกลางวัน หากจัดตารางพบปะผู้สูงวัยให้เร็วขึ้นจะช่วยให้ผู้สูงวัยมาพบแพทย์ในช่วงเวลาที่หน่วยบริการการแพทย์ยังไม่วุ่นวายหรือมีคนจำนวนมาก (กรณีในช่วงสาย)

สิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อการสื่อสารกับผู้สูงวัยเมื่อไปพบแพทย์ Read More »

การสื่อสารกับผู้สูงวัย: ความเข้าใจและไม่ตัดสิน

การสื่อสารในการดูแลผู้สูงอายุมักมีความท้าทายเนื่องจากความลำบากในเชิงกายภาพหลาย ๆ ด้าน เช่น ความบกพร่องทางการได้ยิน โรคบางประเภทในสมอง ทำให้ความจำและการมองเห็นลดลง หรืออาจเกิดจากสภาวะบางอย่างที่เกี่ยวกับการเสื่อมทางระบบประสาท เช่น ภาวะสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน หรือแม้แต่การบาดเจ็บในลำคอหรือปาก ก็อาจส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารด้วยเช่นกัน ปัญหาสุขภาพเกี่ยวข้องกับอายุล้วนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้สูงวัยในครอบครัว หรือผู้สูงวัยกับหน่วยงานช่วยเหลือภาครัฐอื่น ๆ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดต่อกับผู้สูงอายุเป็นครั้งคราว ภาวะเรื้อรังต่าง ๆ ของผู้สูงวัย (ภาวะสมองเสื่อม การสูญเสียการได้ยิน หรือผลกระทบของยา เป็นต้น) อาจทำให้การสนทนาไม่ลื่นไหล หรือเกิดความเข้าใจข้อมูลที่รับฟังลำบากมากยิ่งขึ้น ในช่วงวัยที่สมรรถนะด้านร่างกายเสื่อมถอยลงเช่นนี้ คนวัยอื่น ๆ ที่ปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุอาจเกิดความรู้สึกรำคาญใจหรือเห็นว่าการสื่อสารกับผู้สูงวัยไร้ประโยชน์ได้ การสื่อสารที่สำเร็จได้ผลดี ย่อมอาศัยประสาทสัมผัสที่ชัดเจน ดังนั้น ความบกพร่องทางการมองเห็นหรือการได้ยินอันเนื่องมาจากอายุ อาจทำให้วิธีพูด การทำความเข้าใจ การอ่าน หรือการเขียน เป็นไปได้ยากหรือกระทั่งสื่อสารผิดพลาดได้ ยกตัวอย่าง ปัญหาการได้ยินอาจทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้ว่าว่ามีคนกำลังพูดอยู่ด้วย หรือพูดแล้วเข้าใจได้ยากขึ้น จนทำให้ติดตามบทสนทนาได้ไม่ถี่ถ้วน ปัญหาด้านสายตาอาจทำให้อ่านข้อความในสื่อประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ในโทรศัพท์มือถือได้ลำบาก หรือแม้กระทั่งการอ่านข้อความที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอย่างเช่นฉลากยาเป็นต้น1 มีข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศสิงคโปร์ด้านการสื่อสารกับผู้สูงวัยให้ได้ประสิทธิภาพที่น่าสนใจ และเหมาะสมกับการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะของความเป็นคนเอเชียเหมือนกัน โดยมีหลักการสื่อสารกับผู้สูงอายุ 2 ข้อที่สำคัญ2 การสื่อสารเป็นถนนสองสาย

การสื่อสารกับผู้สูงวัย: ความเข้าใจและไม่ตัดสิน Read More »

ปัจจัยด้านจิตใจและแรงผลักดันกับการออกแบบเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุ

นอกจากการออกแบบเทคโนโลยีของเครื่องมือสื่อสารเพื่อผู้สูงอายุในเชิงวัตถุ เช่น การออกแบบเครื่องมือสื่อสาร การใช้ฟอนต์ การใช้สี เป็นต้น ในบทความนี้ จะอธิบายถึงปัจจัยด้านจิตใจและแรงผลักดันของผู้สูงอายุเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีหรือไม่ด้วย เมื่อพิจารณากันโดยทั่วไปแล้ว เราจะพบว่า คนรุ่นใหม่มักจะผสานรวมเทคโนโลยีเข้ากับชีวิตของตนได้อย่างไม่มีปัญหา ราบรื่น และสนุกไปกับเทคโนโลยี เพราะเติบโตขึ้นมาท่ามกลางเทคโนโลยีและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี จนเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนเสริมกิจวัตรประจำวันโดยธรรมชาติ ทว่าผู้สูงอายุมักใช้เทคโนโลยีต่างออกไป บางแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์อาจถูกผู้สูงอายุมองข้าม มีบางกรณีที่เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์พยายามสร้างเกมแบบง่าย ๆ เพื่อเรียกความสนใจของผู้สูงอายุ แต่การเล่นเกมก็มักจะกระตุ้นความสนใจในกลุ่มผู้สูงวัยตอนต้น (pre-ageing) เสียเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น มักไม่ได้ผลกับผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ดังนั้นการเชิญชวนให้ผู้สูงอายุเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับสื่อออนไลน์ จึงจำเป็นต้องนึกถึงการออกแบบเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการใช้งานเป็นสำคัญ1 เมื่อเราออกแบบอย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่า รูปแบบการใช้งานต้องเรียบง่ายและการเริ่มต้นใช้งานอุปกรณ์นั้น ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อนำพาผู้สูงอายุให้ทราบเกี่ยวกับฟังก์ชันทั้งหลายที่อาจไม่คุ้นเคย (เช่น แอปพลิเคชันไลน์ ที่มักมีฟังก์ชันใหม่เพิ่มมาเสมอตามการอัพเดทเวอร์ชัน) ดังนั้น การคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ใช้อายุน้อยที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี อาจผสานการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เข้ากับชีวิตประจำวันของตนได้อย่างเต็มใจ แต่ผู้ใช้ที่อยู่ในวัยสูงอายุจำนวนมากยังอาจลังเลที่จะถลำลึกลงไปในเทคโนโลยีในแบบเดียวกับคนรุ่นใหม่ การสร้างแรงจูงใจหรือการออกแบบที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกดีต่อเทคโนโลยีจึงควรเป็นเป้าหมายหลักในการออกแบบใด ๆ เพื่อผู้สูงวัยด้วย2 มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่นำเสนอประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีของผู้สูงวัยเพื่อมุ่งพัฒนาออกแบบระบบหุ่นยนต์บริการที่ใช้งานง่ายและเป็นที่ยอมรับมาใช้สำหรับผู้สูงอายุ  โดยคณะนักวิจัยได้ออกแบบที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งได้ทดลองใช้ตัวแบบนั้นในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริง ผ่านตัวแบบบริการหุ่นยนต์หลากหลาย (multi-robot services) ซึ่งคาดว่ามีความจำเป็นในการช่วยเหลือผู้สูงวัยในอนาคตอันใกล้

ปัจจัยด้านจิตใจและแรงผลักดันกับการออกแบบเทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุ Read More »

Scroll to Top