Author name: admin

การดูโทรทัศน์ของผู้สูงวัยสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมอย่างไร

ปกติการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการดูโทรทัศน์มักจะมุ่งไปที่เด็กและเยาวชน ส่วนวิจัยในกลุ่มผู้สูงวัยนั้น มักจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม บทความที่ตีพิมพ์ใน Scientific Report ในปี 2019 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอน Daisy Fancour และ Andrew Steptoe ได้หยิบยกประเด็นผลกระทบจากการดูทีวีที่มีต่อภาวะสมองเสื่อมของผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมาวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลจาก English Longitudinal Study of Aging ที่ติดตามศึกษาซ้ำ (panel study) คนอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ให้ข้อมูลเป็นฐาน ทั้งนี้ นักวิจัยได้นำข้อมูลจากการสำรวจระดับชาติของ English Longitudinal Study of Aging ในระยะที่ 4 ที่เก็บรวบรวมระหว่างปี 2008-2009 มาเป็นฐาน จากนั้นนำข้อมูลจากในการสำรวจระยะที่ 7 ในช่วงปี 2014-2015 หรืออีก 6 ปีต่อมา ซีงศึกษาซ้ำในคนเดียวกัน จำนวน 3,590 คนที่ไม่เคยได้เป็นโรคความจำเสื่อม มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดูทีวีของคนกลุ่มนี้1 ผลการศึกษาในประเด็นเวลาที่ผู้สูงวัยใช้ในการดูทีวีในแต่ละวัน […]

การดูโทรทัศน์ของผู้สูงวัยสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมอย่างไร Read More »

ผู้สูงวัยกับการใช้อินสตาแกรม

อินสตาแกรม (Instagram) เป็นแอปพลิเคชันแชร์รูปภาพบนมือถือที่ให้ผู้ใช้แอปสามารถถ่ายภาพ และใส่ฟิลเตอร์ (ตัวกรองภาพ) เพื่อแชร์ลงบนหน้าบัญชีใช้งานของตนเองได้ อินสตาแกรมมีลักษณะคล้ายกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ ที่เปิดโอกาสให้นำเสนอตัวตนของผู้เป็นเจ้าของบัญชีใช้งานในโลกออนไลน์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด อินสตาแกรมมีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านคนต่อเดือน และมีผู้แชร์รูปภาพมากกว่า 40 พันล้านภาพ โดยมียอดกดให้หัวใจ (เหมือนกับการกดไลก์ในเฟซบุ๊ก) เฉลี่ย 3.5 พันล้านครั้งต่อวันสำหรับ มีรูปภาพไม่น้อยกว่า 80 ล้านรูปภาพได้รับการแชร์บนแพลตฟอร์มทุกวัน คนที่มีอายุในช่วง 18–29 ปี เข้าใช้งานมากกว่าครึ่งหนึ่งของบัญชีผู้ใช้งานทั้งหมด1 วิธีการทำงานของอินสตรแกรมขึ้นอยู่กับการปรับแต่งเนื้อหาหรือการคัดสรรภาพให้ผู้ใช้งานเห็นตามระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ (algorithms) สิ่งนี้เองเป็นตัวเปิดโอกาสหรือจำกัดมิให้ผู้ใช้งานมีการโต้ตอบกันข้ามความสนใจ กล่าวคือ ระบบจะจัดสรรรูปภาพในลักษณะเดียวกับรูปภาพที่เราอัพโหลดหรือกดชมภาพเป็นประจำเท่านั้น ความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์จึงอาจถูกกำหนดโดยบทบาทการใช้งานของเจ้าของบัญชีเอง ไม่ว่าจะเป็นการ “ติดตาม” “แสดงความคิดเห็น” หรือติด “แฮชแท็ก” สิ่งเหล่านี้ทำให้เจ้าของบัญชีสามารถสร้างการรับรู้ หรือรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมได้แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล แม้ว่าหลายองค์กรจะบอกว่า อินสตาแกรมเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจก่อเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตมากที่สุดหากมีการใช้อย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่จากผลวิจัยชิ้นหนึ่งกลับแย้งว่า กลุ่มผู้ที่เข้าใช้อินสตาแกรมบ่อยครั้ง มิได้มีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือมีผลเสียกับจิตใจแต่อย่างใด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากหลักการที่ว่าการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อโพสต์รูปภาพ (มากกว่าการใช้โพสต์ข้อความ) จะช่วยคลายความเหงา เพิ่มความสุข และความพึงพอใจในชีวิตของผู้ใช้งานได้ เพราะรูปภาพมักเข้าใจง่ายกว่าข้อความ สร้างความเพลิดเพลินจากสีสันและลักษณะของภาพที่ลงโพสต์ได้ สาเหตุที่อิสตาแกรมช่วยบรรเทาสภาพจิตใจอันไม่พึงประสงค์ และกระตุ้นให้เกิดสภาวะคิดบวกได้นั้น

ผู้สูงวัยกับการใช้อินสตาแกรม Read More »

สื่อเก่ากับสื่อดิจิทัล: บทบาทที่ต่างกันสำหรับผู้สูงวัย

สื่อดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและได้รับความสนใจจากคนหลายรุ่น ในปัจจุบัน สื่อใหม่เหล่านี้เริ่มมีเนื้อหาโยงเข้าสู่ความสนใจหรือตามลักษณะนิสัยของผู้สูงอายุมากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุจำนวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือดิจิทัลและขาดความรู้ด้านการใช้สื่อที่เพียงพอเพื่อเปิดโลกการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ พัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น หรือขยายโอกาสการมีส่วนร่วมในสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราในฐานะพลเมืองของสังคมจะหันมาให้ความสนใจในการอภิปรายถึงสื่อเก่าและสื่อดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นด้านโอกาส หรือความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลในด้านต่าง ๆ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต อาจไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ต หรือเคยใช้อินเทอร์เน็ตแต่หยุดการใช้งานไปด้วยเหตุผลบางประการ หลายคนต่างเข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางและเครือข่ายเชื่อมโยงคนให้ใกล้ชิดกัน โลกอินเตอร์เน็ตประกอบไปด้วยสื่อที่หลากหลาย มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และกิจกรรมต่าง ๆ ให้เลือกสรร เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ การค้นหาข้อมูล และการบริการจากภาครัฐและเอกชนที่พัฒนาไปอยู่บนรูปแบบแพลตฟอร์มมือถือ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงวัยมีความจำเป็นในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมากขึ้น จึงเป็นที่น่าสนใจว่า สื่อเก่า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ยังมีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่าสื่อใหม่อย่างสื่อดิจิทัลหรือไม่ มีรายงานฉบับหนึ่งของ Eurobarometer ในสหภาพยุโรป พบว่า การดูโทรทัศน์ยังคงเป็นกิจกรรมด้านสื่อมวลชนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป โดยมีพลเมืองของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อายุ 15 ปีขึ้นไป) มากถึงร้อยละ 81 ยังติดตามรายการทางโทรทัศน์ทุกวันใน ค.ศ. 2017 สัดส่วนนี้ยังคงเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งสูงที่สุด (ร้อยละ 92) ในหมู่ชาวยุโรปที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ในขณะที่ในแคนาดา

สื่อเก่ากับสื่อดิจิทัล: บทบาทที่ต่างกันสำหรับผู้สูงวัย Read More »

เฟซบุ๊กกับผู้สูงวัย

จากการคาดการณ์จำนวนประชาการทั่วโลกพบว่า ในระหว่าง ค.ศ. 2015 ถึง ค.ศ. 2050 โลกของเราจะมีผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเพิ่มขึ้นจาก 900 ล้านคน เป็น 2 พันล้านคนทั่วโลก ในจำนวนตัวเลขของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นนี้ แม้ผู้สูงอายุในบางประเทศอาจประสบปัญหาอุปสรรคในการเชื่อมต่อทางสังคมออนไลน์ แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็จะสามารถเข้าถึงโลกออนไลน์และใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Services) ในอนาคตข้างหน้าได้มากขึ้นตามตัวเลข ในปัจจุบัน หนึ่งในบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมคือเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้กลุ่มเพื่อนวัยเรียนในอดีตได้เชื่อมต่อถึงกัน  โดยทั่วไปแล้วเว็บไซต์เครือข่ายสังคมนั้น ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมของคนหนุ่มสาว แต่ในทางกลับกัน เฟซบุ๊กได้กลายเป็นต้นทุนทางสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุเช่นกัน เพราะทำให้ผู้สูงอายุติดต่อเชื่อมถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (belongingness) ที่ต่างไปจากการใช้เครือข่ายสังคมแบบดั้งเดิม (non-traditional) มีรายงานชิ้นหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 2018 ในสหราชอาณาจักร1 พบว่าเด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี จำนวนถึง 2.2 ล้านคน และเด็กอายุ 18 ถึง 24 ปี จำนวน 4.5 ล้านคน

เฟซบุ๊กกับผู้สูงวัย Read More »

ลงพื้นที่ ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเชียงรากน้อย

วันที่ 3 – 4 สิงหาคม 2565 ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ได้รับเชิญจากเทศบาลเชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปอบรมโครงการหลักสูตรวัยเพชรรู้ทันสื่อ โดยมีนายกเทศมนตรี นายอภิสิทธิ์ อัครวรรธนกุล กล่าวต้อนรับและเปิดการอบรม และวิทยาการหลัก ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ และ ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี มีผู้สูงอายุเข้าร่วม 50 ท่าน เป็นตัวแทนจากนักเรียน 5 รุ่น ของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลงพื้นที่ ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเชียงรากน้อย Read More »

“ตุ๊กตาวูดู” กับ “โลกที่เราอยากเห็น”: การกรองด้วยตะแกรงแห่ง “สติ”

  พหุวิถี: สื่อสารยุคใหม่ แนวที่ใช่ของ พ.ศ. นี้ (Multimodality: the 21st Century Communication) คำกล่าวที่ว่า สื่อ(มวลชน)มีอิทธิพลกับชีวิตของคนเรา “ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนถึงเวลาหลับ” หรือ “ตั้งแต่เกิดจนตาย” นั้นยังคงใช้ได้อยู่เสมอ โดยที่โลกทุกวันนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทหลักในการติดต่อสื่อสาร สื่อออนไลน์มีความสำคัญแบบก้าวกระโดด และสื่อ(มวลชน)เก่าถูกลดบทบาทลงอย่างชัดเจน เทคโนโลยีการสื่อสารได้สร้างการเปลี่ยนถ่ายอำนาจและองค์ความรู้ โดยให้พื้นที่แก่ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มทางสังคมต่าง ๆ ที่อาจไม่เคยมีตัวตนหรือมีความสำคัญในสื่อกระแสหลักมาก่อนเพื่อผลิตวาทกรรมของตนเองในทางที่อาจจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เผยแพร่ในกระแสหลัก หรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  สื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ ความบันเทิง สร้างสติปัญญา มอบความสุข ความรื่นรมย์ ความสมหวัง ตลอดจนยั่วยุให้เกิดความหงุดหงิด รำคาญใจ หรือกระทั่งเป็นทุกข์ได้ สื่อเป็นตัวสร้างโลกด้วยชุดความจริงหนึ่ง ที่ทำให้เราเชื่อถือ ยึดโยง และปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น สื่อจึงเปรียบเสมือนพลังขับเคลื่อนทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง สูงวัย: ความโยงใย กับ “พหุแพลตฟอร์ม” เมื่อมองถึงบริบททางการสื่อสารของประเทศไทย พบว่าภาพการสื่อสารแบบ “พหุวถี” (multimodality) มีความแจ่มชัดเช่นเดียวกับในภูมิทัศน์การสื่อสารของโลก (global media landscape) กล่าวคือมีการหลอมรวม  สื่อ(มวลชน)เก่า

“ตุ๊กตาวูดู” กับ “โลกที่เราอยากเห็น”: การกรองด้วยตะแกรงแห่ง “สติ” Read More »

บทบาทของผู้สูงวัยและชุมชุนในการจัดการขยะ

ในสังคมยุคใหม่ที่เน้นการผลิตและการบริโภค ย่อมก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลและขยะอันเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างมหาศาล แม้จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายในการให้ความรู้เพื่อเปลี่ยนวิธีคิดของผู้บริโภคไปสู่การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ การรีไซเคิล หรือการหันมาใช้วัสดุที่ยั่งยืน แต่จำนวนประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้การส่งเสริมความรู้ในการจัดการขยะหรือของเหลือใช้ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ แม้จะมีคำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์หลายครั้งว่ามนุษย์เรากำลังสร้างความเสียหายให้กับโลกด้วยอัตราที่น่าตกใจ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าทัศนคติ การรับรู้ และพฤติกรรมของคนแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันหรือไม่ ทั้งนี้ ผู้สูงวัยกับกลุ่มวัยรุ่นหรือวัยทำงานซึ่งมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น จะตระหนักถึงอันตรายจากการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ข้อมูลที่น่าสนใจจาก Recycle Magazine ระบุว่า ในสหราชอาณาจักร ผู้เกษียณอายุยังคงรักษาความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของตนไว้ได้ค่อนข้างดี แม้จะเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ทำให้ผู้สูงอายุมีอำนาจใช้จ่ายและมีเวลาเหลือมากกว่าเคย การศึกษาชี้ว่าขยะจากชุมชนของผู้สูงวัยมีมากกว่าชุมชนอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ โดยหนึ่งในนั้นเป็นผลจากความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย คนในวัยหลังเกษียณจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่สร้างขยะมากขึ้นโดยไม่ตั้งใจ อีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งต่างกับกรณีข้างต้น คือ ฮ่องกงซึ่งมีประชากรสูงวัยค่อนข้างมาก แต่ไม่มีการสนับสนุนในด้านความรู้ในการจัดการขยะที่เพียงพอสำหรับผู้สูงวัย ผู้สูงอายุจำนวนมากในฮ่องกงมีฐานะยากจน ไม่มีเงินออมหรือมีเงินบำนาญ และหลายคนต้องอยู่ในสภาพหารายได้จากขยะและการรีไซเคิล เช่น การซื้อขายกระดาษแข็งนอกถนน กระนั้นก็ดี กรณีของฮ่องกงนี้ กลับแสดงให้เห็นว่า แม้ผู้สูงวัยอาจมีรายได้น้อย แต่ก็ตระหนักถึงประโยชน์จากสิ่งของเหลือใช้ ทั้งในแง่อาชีพและสภาพแวดล้อม มากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้สูงและไม่สนใจเรื่องการจัดกับสิ่งที่เหลือใช้อย่างมีประสิทธิภาพ1 สำหรับในประเทศไทย มีการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนโดยการนำของผู้สูงวัย ส่วนมากเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติหรือการศึกษาสภาพปัจจุบัน ตลอดจนการรับมือหรือมาตรการท้องถิ่นในการทำให้ชุมชนสะอาด เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในระดับชุมชนของผู้สูงวัยในสังคมไทย ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยของวิสาขา ภู่จินดา และภารณ

บทบาทของผู้สูงวัยและชุมชุนในการจัดการขยะ Read More »

Scroll to Top