ความท้าทายของ Gen X กับการเป็น “แซนวิชเจเนอเรชั่น”
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายและพยายามหาแนวทางในการรับมือกับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีลักษณะเป็นแบบพีระมิดแบบหดตัว (constrictive pyramid/ declining pyramid) ซึ่งเกิดจากจำนวนประชากรที่ลดลงจากอัตราการเกิดและอัตราการตายที่ต่ำ ทำให้จำนวนเด็กที่เกิดใหม่ไม่ได้สัดส่วนที่จะทดแทนคนรุ่นพ่อและแม่ได้1 ส่งผลต่อเนื่องให้ประเทศไทยเป็น “สังคมสูงอายุสมบูรณ์” (complete-aged society) เนื่องจากมีจำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากถึง 20.08% หรือ 13,064,929 คน จากจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎรทั้งหมด 66,052,615 ล้านคน2 ที่สำคัญ หากมองประชากรที่อยู่ในกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (pre-aging) นั่นคือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี จำนวน 10,005,690 คนในปัจจุบัน ที่ก็จะกลายเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีในอีก 10 ปีข้างหน้า ทำให้มองเห็นภาพของสังคมสูงอายุไทยที่จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประมาณ 23 ล้านคน หรือ 34% ของประชากรทั้งหมด1 ถ้าจะทำให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้นก็คือ ในทศวรรษหน้า ประชากรไทย 1 ใน 3 จะเป็นผู้สูงอายุ เมื่อแนวโน้มโครงสร้างทางประชากรของไทยเป็นเช่นนี้ การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับจำนวนประชากรสูงอายุไทยที่จะเพิ่มขึ้นในอีกทศวรรษ จะต้องเริ่มจากการให้ความสนใจไปที่กลุ่มวัยก่อนสูงอายุ เพื่อเตรียมคนเหล่านี้ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาระการดูแลจากภาครัฐ […]
ความท้าทายของ Gen X กับการเป็น “แซนวิชเจเนอเรชั่น” Read More »