โฆษณาที่ตอบสนองตามวัย สร้างความเท่าเทียมในสังคมสูงวัย
ในสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยผู้บริโภคในปัจจุบัน การโฆษณามีบทบาทสำคัญในการสร้างการรับรู้และความต้องการของมนุษย์ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วโฆษณามักจะมีเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม แต่กลุ่มหนึ่งที่มักถูกละเลยคือกลุ่มผู้สูงอายุ การตลาดผ่านโฆษณาควรคำนึงถึงปรากฏการณ์จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และตระหนักว่า การโฆษณาใด ๆ ควรให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และตอบสนองตามวัยของผู้เสพสื่อด้วยเช่นกัน ประชากรสูงอายุ ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปนั้น เป็นตัวแทนของกลุ่มผู้บริโภคที่มีค่าอย่างยิ่ง กลุ่มผู้สูงอายุนี้ล้วนมีความต้องการที่หลากหลาย ความพึงพอใจเฉพาะตัว และกำลังซื้อที่มหาศาล การศึกษาขององค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าภายในอีก 30 ปีข้างหน้า จำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะสูงถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก1 การเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่มีนัยสำคัญนี้เอง จำเป็นต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด หากนักการตลาดต้องการให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการรับสื่อโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพ นี่เองจึงเป็นที่มาของแนวคิดที่ว่าโฆษณาควรจะต้องตอบสนองตามวัย (Age-responsive) และตระหนักถึงความสนใจที่หลากหลายของผู้สูงอายุ การปรับแต่งโฆษณาให้ตรงกับสิ่งที่ผู้สูงอายุสนใจจึงสมควรส่งเสริมให้เกิดขึ้น นักการตลาดควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับผู้สูงอายุ จนทำให้เกิดความภักดีต่อยี่ห้อสินค้า (brand loyalty) ดังนั้น หากนักโฆษณาประชาสัมพันธ์พยายามปรับทัศนคติให้เปิดรับความต้องการที่แท้จริง ตลอดจนประสบการณ์อันหลากหลายของผู้สูงอายุ ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่า ผู้สูงอายุจะไม่ถูกผลักให้เป็นกลุ่มชายขอบของการโฆษณา แต่จะเสริมพลังให้ผู้สูงอายุในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการตลาดอย่างทั่วถึง2 ในอดีตที่ผ่านมา เราอาจสังเกตได้ว่า ผู้สูงอายุถูกนำเสนอในโฆษณาผ่านมุมมองแบบเหมารวม มักถูกมองว่าช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ไม่ช่ำชองในเรื่องเทคโนโลยี หรือพ้นไปจากกระแสร่วมสมัย ภาพตัวแทนดังกล่าวมิใช่ภาพแห่งความเป็นจริง ผู้สูงวัยในปัจจุบันยังคงมีชีวิตชีวาและมีความหลากหลายภายในกลุ่มตนเองนี้ แต่ภาพตัวแทนในโฆษณาปัจจุบัน ยังคงเป็นภาพเชิงลบ จนทำให้ผู้กลุ่มผู้เสพสื่อเกิดการแบ่งแยกแตกต่าง3 […]
โฆษณาที่ตอบสนองตามวัย สร้างความเท่าเทียมในสังคมสูงวัย Read More »