เกษตรกรสูงวัยไทยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารในการเพิ่มผลผลิต
ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ กลุ่มผู้สูงวัยที่มีจำนวนมากขึ้นนี้ยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันสังคมและเศรษฐกิจ เพราะการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าทำให้สุขภาพของผู้สูงวัยแข็งแรง ยังมีกำลังที่จะประกอบอาชีพในหลาย ๆ ภาคส่วน รวมถึงภาคการเกษตรของไทยซึ่งเป็นภาคการผลิตที่มีขนาดใหญ่ด้วย จากการรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้สูงอายุที่ทำงานส่วนใหญ่ของไทย เป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านเกษตรและประมง ร้อยละ 60.8 รองลงมาเป็นพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า ผู้สูงอายุที่มีฝีมือด้านเกษตรและประมงนั้น มีจำนวนสูงสุดเกือบทุกภาค โดยมีจำนวนมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 78.6 รองลงมาเป็นภาคใต้และภาคเหนือ1 งานวิจัยของไทยชิ้นหนึ่งระบุว่า การเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์จะส่งผลลบต่อศักยภาพการผลิตของภาคเกษตรไทย กล่าวคือ หากสัดส่วนแรงงานที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้นในระบบการผลิต (เมื่อเทียบกับแรงงานในวัยทำงาน) ประสิทธิภาพทางการผลิตจะลดน้อยลงเป็นอย่างมาก2 นอกจากนั้น ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นที่เป็นตัวอย่างของปัญหาการทำเกษตรในกลุ่มผู้สูงวัย แม้รัฐบาลจะมีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แล้วก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวจัดทำขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร สินค้าและผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดกำลังทรัพย์ในการทำการเกษตรอินทรีย์ หน่วยงานที่เข้าไปส่งเสริมขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง3 กระนั้นก็ดี หลายประเทศต่างพบปัญหาสังคมสูงวัยในภาคการเกษตรเช่นเดียวกับไทย แต่ประเทศเหล่านั้นก็ได้พัฒนาหนทางในการใช้เทคโนโลยีสื่อสารเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสูงวัยได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรสูงวัยที่น่าสนใจ ได้แก่ การออกแบบเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นซึ่งตอบสนองต่อสังคมเกษตรกรรมสูงวัยได้อย่างชาญฉลาด โดยมีการคิดค้นระบบข้อมูลซี่งอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นตัวช่วย ซึ่งเรียกว่า “ระบบข้อมูล 4 ส่วน” นักวิจัยและพัฒนาได้นำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับการผลิตและจำหน่ายใบไม้กับดอกไม้ตกแต่งอาหาร (tsumamono) ของบริษัทอิโรโดริ ในเมืองคามิคาซึ4 […]
เกษตรกรสูงวัยไทยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารในการเพิ่มผลผลิต Read More »